TNN สเปนเอาด้วย ! เตรียมส่งจรวดใช้ซ้ำลำแรกขึ้นอวกาศปลายปีนี้

TNN

Tech

สเปนเอาด้วย ! เตรียมส่งจรวดใช้ซ้ำลำแรกขึ้นอวกาศปลายปีนี้

สเปนเอาด้วย ! เตรียมส่งจรวดใช้ซ้ำลำแรกขึ้นอวกาศปลายปีนี้

สนามชิงความเป็นหนึ่งด้านอุตสาหกรรมอวกาศและการพัฒนาจรวดขนส่งแบบใช้ซ้ำยังคงร้อนระอุ ล่าสุดสเปนพัฒนาจรวดขนส่งแบบใช้ซ้ำ และตั้งเป้าเตรียมส่งจรวดขนส่งแบบใช้ซ้ำขึ้นสู่วงโคจรภายในปลายปีนี้

ศึกชิงความเป็นหนึ่งด้านอุตสาหกรรมขนส่งทางอวกาศยังคงดำเนินต่อไป และล่าสุดก็เปิดตัวผู้เล่นใหม่ หลังสตาร์ตอัปในประเทศสเปน เผยแผนส่งจรวดขนส่งแบบใช้ซ้ำลำแรกของยุโรปตะวันตกขึ้นสู่อวกาศในปีนี้


สเปนเอาด้วย ! เตรียมส่งจรวดใช้ซ้ำลำแรกขึ้นอวกาศปลายปีนี้ ภาพจาก PLD Space


จรวดขนส่งลำนี้ มีชื่อว่า มิอุระ วัน (Miura 1) ตั้งชื่อตามสายพันธุ์ของวัวที่มีชื่อเสียงในประเพณีสู้วัวกระทิงของสเปน และพัฒนาโดยบริษัท พีแอลดี สเปซ (PLD Space) ผู้พัฒนาระบบจรวดแบบนำกลับมาใช้ใหม่ ตัวจรวดมีความสูงเท่ากับตึกสามชั้น สามารถบรรทุกสัมภาระได้ทั้งสิ้น 100 กิโลกรัม และสามารถใช้บรรทุกสัมภาระการทดลองในสภาวะแรงโน้มถ่วงเป็นศูนย์ได้ อีกทั้งยังสามารถใช้ปฏิบัติภารกิจได้มากถึง 4 ภารกิจต่อปี


โดยตอนนี้บริษัทมีเป้าหมายที่จะปล่อยจรวดในฐานปล่อยจรวด ณ เมือง ฮูเอลวา (Huelva) เมืองทางตอนใต้ของประเทศสเปน เพื่อปูทางไปสู่การใช้งานเชิงพาณิชย์ในอนาคต แต่ยังไม่ได้มีการกำหนดวันที่อย่างเป็นทางการ


สเปนเอาด้วย ! เตรียมส่งจรวดใช้ซ้ำลำแรกขึ้นอวกาศปลายปีนี้ ภาพจาก PLD Space

 

อย่างไรก็ตาม บริษัทหวังว่า การเปิดตัวโครงการพัฒนาจรวดที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้นี้ จะแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีในยุโรป โดย เปโดร ซานเชส (Pedro Sanchez) นายกรัฐมนตรีของสเปน ยังได้กล่าวในงานเปิดตัวฐานปล่อยจรวดของบริษัทว่า ความคืบหน้าของโครงการนี้ นับเป็นก้าวสำคัญในการบรรลุเป้าหมายด้านอวกาศของประเทศ



สเปนเอาด้วย ! เตรียมส่งจรวดใช้ซ้ำลำแรกขึ้นอวกาศปลายปีนี้ ภาพจาก PLD Space

 

หลังจากก่อนหน้านี้ สเปนได้เปิดตัวหน่วยงานอวกาศไปเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ท่ามกลางการผลักดันจากกลุ่มประเทศในยุโรป ที่ตกลงจะเพิ่มงบประมาณด้านอวกาศขึ้นร้อยละ 17 เพื่อให้ก้าวทันคู่แข่งระดับโลก เช่นสหรัฐอเมริกา และจีน ส่วนทางบริษัท พีแอลดี สเปซ นอกจากโครงการมิอุระ วัน (Miura 1) แล้ว บริษัทยังมีแผนพัฒนาในปี 2024 ที่จะส่งยานขนาดเล็กที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ในชื่อว่ามิอุระ ไฟฟ์ (Miura 5) เพื่อนำดาวเทียมขนาดเล็กขึ้นสู่วงโคจรอีกด้วย


ข้อมูลจาก reuters.comphys.org

ข่าวแนะนำ