สร้างโต๊ะจากขยะทะเล โครงการเท่ ๆ ในญี่ปุ่น
ทีมสถาปนิกจากลอนดอนผนึกกำลังเอกชนท้องถิ่นในญี่ปุ่น สร้างโครงการเชิงสัญลักษณ์ในการพลิกขยะพลาสติกสู่เฟอร์นิเชอร์ที่ใช้ได้จริง
ทุ่นลอยน้ำกลางทะเลที่ไม่ใช้แล้ว, ขวดพลาสติก และอีกหลากหลายผลิตภัณฑ์นั้นกำลังลอยอยู่บนทะเลซึ่งเป็นพื้นที่ซึ่งขยะเหล่านี้ไม่สมควรอยู่ แม้ว่าในปัจจุบันจะมีหลายภาคส่วนที่พยายามนำสิ่งของเหล่านี้ออกไปจากระบบนิเวศของท้องทะเล แต่ก็ยังมีปัญหาในการตระหนักถึงสถานการณ์นี้ ด้วยเหตุนี้ แพน โปรเจกต์ส (PAN-PROJECTS) ทีมสถาปนิกจากกรุงลอนดอนจึงได้เข้ามากระตุ้นการรับรู้ผ่านโครงการพลิกขยะในทะเลให้กลายเป็นโต๊ะที่น่าใช้งาน
วัตถุประสงค์หลักของทีมแพน โปรเจกต์ส (PAN-PROJECTS) นั้นเป็นการสร้างโต๊ะ สร้างอุปกรณ์เสริมสำหรับตกปลาจากขยะในท้องทะเลขึ้นมา ซึ่งตั้งชื่อโครงการว่ามัม (mum) โดยทำงานร่วมกับทีมงานในญี่ปุ่นเพื่อเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงในทะเลที่จังหวัดมิเอะ ภูมิภาคคันไซของประเทศญี่ปุ่น
โดยในตอนนี้ทางทีมสถาปนิกได้เน้นไปที่การสร้างโต๊ะขึ้นมา โดยมีแนวคิดการออกแบบรูปลักษณ์ให้สะท้อนเชิงสัญลักษณ์ของคลื่นทะเลที่เงียบสงบ (Tranquil Waves) ผ่านลายนูนต่ำที่อยู่บนผิวโต๊ะ
ส่วนตัวโต๊ะนั้นจะมีความคล้ายกับเก้าอี้ม้านั่งที่มีสีดำ ซึ่งเป็นสีที่สื่อถึงการถูกทิ้งขว้างจากชาวประมงหลังจากที่ใช้งานทุ่น, เชือก และแห ที่ผลิตจากพลาสติกและถูกทิ้งกลางทะเลหลังจากใช้งานในระยะเวลาไม่นาน โดยตอนนี้ทางทีมสถานิกจากลอนดอนจะมุ่งเน้นไปที่การทำเฟอร์นิเชอร์ก่อนจะต่อยอดเป็นอุปกรณ์ช่วยชาวประมงในระยะต่อไป
ทางทีมแพน โปรเจกต์ส (PAN-PROJECTS) ต้องการสร้างผลงานที่เคารพรากเหง้าของญี่ปุ่นอย่างทะเล ที่เป็นดั่ง “มัม” (mum) หรือมารดาของคนท้องถิ่น ผู้มอบทรัพยากรธรรมชาติให้ชาวประมงและส่งสัญญาณเตือนกว่ากำลังเดินหน้าพัฒนาผิดทางจากใช้ทรัพยากรอย่างไม่คุ้มค่าเพื่อแลกกับการเติบโตของอุตสาหกรรมประมงในตอนนี้
ที่มาข้อมูล Designboom
ที่มารูปภาพ PAN-PROJECTS
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67