บริษัท Vest เข้าซื้อกิจการสตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยีขนส่งอวกาศเตรียมสร้างสถานีอวกาศแบบใหม่
บริษัท Vest เข้าซื้อกิจการบริษัท ลันเชอร์ (Launcher) บริษัทด้านเทคโนโลยีขนส่งอวกาศเตรียมสร้างสถานีอวกาศแบบมีแรงโน้มถ่วงเทียม (Artificial gravity)
ปัจจุบันมีบริษัทเทคโนโลยีอวกาศหลายแห่งให้ความสนใจพัฒนาเทคโนโลยีสถานีอวกาศรูปแบบใหม่ที่สามารถสร้างแรงโน้มถ่วงเทียม (Artificial gravity)ให้เกิดขึ้นบนสถานีอวกาศได้ รวมไปถึงบริษัท เวส (Vest) ที่ประกาศเข้าซื้อกิจการบริษัท ลันเชอร์ (Launcher) สตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยีขนส่งอวกาศที่สามารถขนส่งยานอวกาศ ดาวเทียมและชิ้นส่วนอื่น ๆ ที่สำคัญขึ้นสู่อวกาศ
บริษัท เวส (Vest) ตั้งเป้าสร้างสถานีอวกาศที่สามารถสร้างแรงโน้มถ่วงเทียมสำหรับนักบินอวกาศบนวงโคจรระดับต่ำของโลกทดแทนสถานีอวกาศนานาชาติ ISS ที่เตรียมปลดประจำการในปี 2030
การเข้าซื้อกิจการบริษัท ลันเชอร์ (Launcher) สามารถช่วยให้ทีมงานของบริษัทไปถึงเป้าหมายการก่อสร้างสถานีอวกาศแบบมีแรงโน้มถ่วงเทียมได้เร็วมากขึ้นเป็นการผสานความรู้ด้านเทคโนโลยีสถานีอวกาศเข้ากับการขนส่งอวกาศ
สำหรับบริษัท ลันเชอร์ (Launcher) ปัจจุบันให้บริการขนส่งดาวเทียมขนาดต่าง ๆ โดยบริษัทพัฒนาชิ้นส่วนจรวดสำหรับใช้บรรทุกดาวเทียมขนาดต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบดาวเทียมขนาดใหญ่และดาวเทียมขนาดเล็กหลายดวงส่งขึ้นสู่อวกาศในภารกิจเดียว (Rideshare) ส่วนจรวดขนส่งอวกาศนั้นใช้รูปแบบจับมือเป็นพันธมิตรกับบริษัทเอกชนอื่น ๆ เช่น จรวดฟัลคอน 9 (Falcon 9), จรวดเทอร์แรน (Terran) และจรวดเวย์ก้า (Vega)
ก่อนหน้านี้แรงโน้มถ่วงเทียมบนอวกาศเราสามารถพบเห็นได้ในภาพยนตร์วิทยาศาสตร์อวกาศ โดยมนุษย์ที่อยู่อาศัยบนสถานีอวกาศสามารถเดินบนพื้นได้เหมือนการเดินบนโลกที่มีแรงโน้มถ่วงยึดติดร่างกายเอาไว้กับพื้น ซึ่งมีความสำคัญต่อสภาพร่างกายของมนุษย์เป็นอย่างมาก หากมนุษย์ใช้ชีวิตบนอวกาศเป็นระยะเวลานานโดยไม่มีแรงโน้มถ่วงเทียมอาจมีผลต่อกระดูกและสภาพร่างกายส่วนอื่น ๆ
แม้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีจรวดและยานอวกาศของมนุษย์จะพัฒนาขึ้นมาได้ระดับหนึ่งแล้วแต่การสร้างแรงโน้มถ่วงเทียมบนอวกาศยังคงเป็นเทคโนโลยีที่ห่างไกลความจริงอยู่พอสมควร เนื่องจากต้องใช้พลังงานในการหมุนยานด้วยความเร็วและโครงสร้างจะต้องมีความแข็งแกร่งทนทานต่อแรงที่เข้ามากระทำกับยานเพื่อสร้างแรงโน้มถ่วงเทียม ซึ่งบนอวกาศพลังงานและชิ้นส่วนต่าง ๆ กลายเป็นของมีค่าและหากเกิดความเสียหายมันยากเกินกว่าจะหามาทดแทน
ที่มาของข้อมูล Interestingengineering
ที่มาของรูปภาพ Vastspace , Launcherspace
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67