Facebook เปิดบริการ Meta Verified จ่ายค่าสมาชิกแบบยืนยันตัวตนด้วยบัตรประชาชน
บริการเมตา เวอร์ริฟายด์ (Meta Verified) สมาชิกแบบยืนยันตัวตนด้วยบัตรประชาชนที่จ่ายแบบรายเดือนจะได้รับเครื่องหมายถูกสีฟ้า (Blue Tick Verification)
มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ผู้บริหารบริษัท เมตา (Meta) เจ้าของแพลตฟอร์มโซเชียลเน็ตเวิร์กเฟซบุ๊ก (Facebook) ประกาศเปิดบริการเมตา เวอร์ริฟายด์ (Meta Verified) จ่ายค่าสมาชิกแบบยืนยันตัวตนด้วยบัตรประชาชนสำหรับผู้ใช้งานอินสตาแกรม (Instagram) และเฟ็สบุ๊ก (Facebook)
โดยสมาชิกในรูปแบบเมตา เวอร์ริฟายด์ (Meta Verified) จะได้รับเครื่องหมายถูกสีฟ้า (Blue Tick Verification) เพื่อยืนยันว่าเป็นบัญชีจริงป้องกันถูกปลอมแปลงแอบอ้างบัญชีและบริการติดต่อทีมงานของบริษัทเพื่อได้รับความช่วยเหลือโดยตรงหากเกิดปัญหาการใช้งาน
ราคาค่าบริการเมตา เวอร์ริฟายด์ (Meta Verified) เริ่มต้นที่ 11.99 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 415 บาท ต่อเดือน สำหรับบนเว็บไซต์ และ 14.99 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 515 บาท ต่อเดือน สำหรับบนแอปพลิเคชันระบบปฏิบัติการ iOS
สำหรับวิธีการดังกล่าวทางบริษัทต้องการใช้เพื่อจัดการกับบัญชีปลอมจำนวนมากที่มักแอบอ้างเป็นบุคคลสำคัญและช่วยยกระดับความปลอดภัยและการยืนยันตัวตนบนแพลตฟอร์มได้เป็นอย่างดี การเก็บค่าบริการรายเดือนแบบใหม่นี้ยังไม่พร้อมใช้งานสำหรับภาคธุรกิจ โดยรองรับเพียงผู้ใช้งานรายบุคคลเท่านั้น ผู้ใช้งานจะต้องใช้ชื่อตรงกับชื่อบนบัตรประชาชนเพื่อได้รับการยืนยันและผู้ใช้งานจะต้องมีรูปภาพโปรไฟล์ที่มีใบหน้าของตนเอง
บริษัทเปิดให้บริการที่แรกในประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ช่วงสัปดาห์นี้และในประเทศอื่น ๆ เร็ว ๆ นี้
ก่อนหน้านี้บริษัท ทวิตเตอร์ (Twitter) โซเชียลเน็ตเวิร์กรายใหญ่อีกแห่งได้เรียกเก็บค่าบริการรูปแบบคล้ายกันนี้มาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 2022 นอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์อื่น ๆ อย่างเช่น เรดดิต (Reddit), ยูทูป (Youtube) และดิสคอร์ด (Discord) ที่ใช้รูปแบบการสมัครรับข้อมูลในทำนองเดียวกัน
สมาชิกผู้ใช้งานทั่วไปยังคงใช้งานได้ปกติไม่เสียค่าบริการ
สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปยังคงใช้งานบริการเฟซบุ๊ก (Facebook) ได้ตามปกติไม่ต้องจ่ายเงินเพื่อยืนยันตัวตนแบบบริการเมตา เวอร์ริฟายด์ (Meta Verified) บริการใหม่นี้ไม่กระทบกับผู้ใช้งานที่มีสัญลักษณ์เครื่องหมายถูกสีฟ้า (Blue Tick Verification) อยู่ก่อนแต่อย่างใด แต่อาจจะมีการเข้าถึงโพสต์และผู้ใช้งานอื่น ๆ น้อยกว่าผู้ที่จ่ายเงินเพื่อให้ได้รับสัญลักษณ์นี้
ที่มาของข้อมูล Mark Zuckerberg, BBC
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67