เปิดให้บริการรถแท็กซี่ขับเคลื่อนอัตโนมัติบนถนนสาธารณะในรัฐแคลิฟอร์เนีย
เปิดให้บริการรถแท็กซี่ขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Robotaxi) บนถนนสาธารณะในรัฐแคลิฟอร์เนีย ไม่มีที่นั่งของคนขับสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ทั้งหมด 4 ที่นั่ง
บริษัท ซูเอ็กซ์ (Zoox) ผู้พัฒนารถยนต์แท็กซี่ขับเคลื่อนอัตโนมัติในเครือของบริษัท แอมะซอน (Amazon) ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีในประเทศสหรัฐอเมริกาเปิดให้บริการรถแท็กซี่ขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Robotaxi) บนถนนสาธารณะเป็นครั้งแรกในรัฐแคลิฟอร์เนีย
การออกแบบรถแท็กซี่ขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Robotaxi) โครงสร้างมีความยาว 3.6 เมตร ความสูงตัวรถ 1.93 เมตร ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ วงเลี้ยว 8.5 เมตร สามารถวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ชาร์จพลังงานไฟฟ้า 1 ครั้ง วิ่งได้ 16 ชั่วโมง ติดตั้งเทคโนโลยีกล้องตรวจสอบวัตถุและเทคโนโลยีไลดาร์ (LiDAR) ใช้แสงเลเซอร์สร้างภาพ 3 มิติ เพื่อตรวจสอบวัตถุจากระยะไกลทำงานร่วมกับระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ
รถแท็กซี่ขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Robotaxi) ไม่มีที่นั่งของคนขับสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ทั้งหมด 4 ที่นั่ง ในช่วงแรกบริษัทจะให้บริการกับพนักงานของบริษัทขนส่งไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ในเมืองฟอสเตอร์ซิตี
ทีมงานของบริษัท ซูเอ็กซ์ (Zoox) ใช้เวลาในการวิจัยพัฒนารถยนต์แท็กซี่ขับเคลื่อนอัตโนมัติมานานกว่า 10 ปี โดยใช้แนวคิดใหม่ทั้งหมดแตกต่างจากบริษัทคู่แข่ง เช่น ออโต้ เอกซ์ (AutoX) และเวย์โม (Waymo) ที่ยังคงใช้รถยนต์รูปแบบเดิมมาทำการดัดแปลงติดตั้งระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ
เจสซี เลวินสัน ซีทีโอและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ซูมเอ็กซ์ (Zoox) เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมว่าแนวคิดหลักของบริษัทนั้นเน้นความปลอดภัยของผู้โดยสารมาเป็นอันดับหนึ่ง มองไปข้างหน้ามากกว่าแนวคิดเดิมที่ยังคงใช้รถยนต์แบบเก่าอยู่ การเปิดให้บริการรถยนต์แท็กซี่ขับเคลื่อนอัตโนมัติในครั้งนี้นับเป็นความสำคัญสำเร็จครั้งสำคัญทางการออกแบบและวิศวกรรมของบริษัท
การพัฒนาต้นแบบรถแท็กซี่ขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Robotaxi) คันแรกเกิดขึ้นในปี 2015 โดยสามารถขับเคลื่อนได้สองทิศทางหรือการขับไปด้านหน้าและด้านหลังโดยไม่ต้องเลี้ยวกลับตัวรถได้สำเร็จในปี 2016 ต่อมาในปี 2018 บริษัทได้รับใบอนุญาตให้นำรถแท็กซี่ขับเคลื่อนอัตโนมัติมาให้บริการและใบอนุญาตให้บริการขนส่งผู้โดยสารด้วยแท็กซี่ขับเคลื่อนอัตโนมัติในปี 2020 ในรัฐแคลิฟอร์เนีย
ที่มาของข้อมูล Newatlas
ที่มาของรูปภาพ Zoox
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67