เอนไซม์กินพลาสติกในเสื้อผ้า เตรียมใช้ย่อยขยะจากอุตสาหกรรมแฟชั่น
นักวิจัยจากสหราชอาณาจักรพัฒนาเอนไซม์ย่อยพลาสติกในเสื้อผ้า แก้ปัญหาขยะเสื้อผ้าจากอุตสาหกรรมแฟชั่น
จะดีแค่ไหน ถ้าเราสามารถเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ทำจากเส้นใยพลาสติกอย่างโพลีเอสเตอร์ (Polyester) เช่น เสื้อกีฬาทั้งตัว ให้กลับไปเป็นเศษวัสดุตั้งต้นสำหรับเอาไปรีไซเคิลใหม่ได้ง่าย ๆ
นักวิจัยพัฒนาเอนไซม์ (Enzyme) สำหรับย่อยพลาสติกในเสื้อผ้า
โดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยพอร์ตสมัธ (University of Portsmouth) ในสหราชอาณาจักรได้พัฒนาเอนไซม์ (Enzyme) สำหรับย่อยพลาสติกในเสื้อผ้าให้เป็นอนุภาคเล็กลงเพื่อให้ง่ายต่อการรีไซเคิลและช่วยลดขยะจากเสื้อผ้าท่ีถูกทิ้งหรือถูกเผากว่าหลายล้านตันในทุกปีและกลายเป็นมลพิษต่อโลก
โดยกระบวนการขั้นแรก นักวิจัยจะนำเสื้อผ้าที่ทอจากเส้นใยสังเคราะห์หรือโพลีเอสเตอร์ ซึ่งทำมาจากพลาสติกมาตัดเป็นชิ้น ๆ จากนั้นจึงนำไปจุ่มลงในไนโตรเจนเหลว (Liquid Nitrogen) แล้วนำเข้าเครื่องปั่นเพื่อย่อยให้มันกลายเป็นชิ้นเล็ก ๆ ก่อนจะนำไปใส่ในเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพที่มีน้ำและเอนไซม์สำหรับย่อยพลาสติกอยู่
ตัวเอนไซม์จะทำหน้าที่ย่อยพลาสติกให้กลับไปเป็นพลาสติกในรูปของเหลวที่มีตะกอนปะปน โดยตะกอนนั้นก็คือส่วนผสมอื่น ๆ ที่ถูกนำมาใช้ผสมกับโพลีเอสเตอร์ในการผลิตเสื้อผ้า เช่น ขนสัตว์, ฝ้าย ไปจนถึงใยหิน ดังนั้นหลังจากเอาพลาสติกเหลวมาแยกตะกอนออก เราก็จะได้พลาสติกที่ไม่มีสิ่งปนเปื้อนสามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้ง่ายขึ้น
สำหรับงานวิจัยนี้ถูกตีพิมพ์ลงบนเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยพอร์ตสมัธ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยยังอยู่ในขั้นตอนพัฒนาเพื่อให้ได้เอนไซม์ที่เสถียรและสามารถย่อยพลาสติกได้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้และอาจจะนำไปใช้ในอุตสาหกรรมรีไซเคิลขยะประเภทเสื้อผ้าในอนาคต
ขยะจากอุตสาหกรรมเสื้อผ้า
โดยอุตสาหกรรมเสื้อผ้ากำลังสร้างปัญหาให้กับโลกของเรา เพราะการย่อยสลายเสื้อผ้าที่ทำจากพลาสติกสามารถทำได้ยาก วิธีการที่ใช้ในปัจจุบันจึงเป็นการฝังกลบ ซึ่งมันใช้เวลาย่อยสลายในดินอย่างน้อย ๆ 10 ปี
ข้อมูลจาก PNAS
ภาพจาก Reuters
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67