“หมากฝรั่ง” เคี้ยวเพลินแต่ทำร้ายโลก แถมเปิดโอกาสให้ไมโครพลาสติกเข้าสู่ร่างกายโดยไม่รู้ตัว

หลายคนอาจไม่รู้ว่า “หมากฝรั่ง” ที่เราเคี้ยวกันอย่างเพลิดเพลินอยู่นี้ผลิตมาจากยางสังเคราะห์ที่ได้มาจากปิโตเลียม ซึ่งมีส่วนประกอบคล้ายกับพลาสติกที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตยางรถยนต์ ถุงพลาสติก และกาว มักจะใช้คำว่า “Gum base”   แสดงในรายการส่วนประกอบ โดยไม่มีรายละเอียดอื่น ๆ ที่ชัดเจน แต่ละปีทั่วโลกผลิตหมากฝรั่งมากถึง 1.74 ล้านล้านชิ้น มีน้ำหนักรวมมากถึง 2.436 ล้านตัน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นยางสังเคราะห์ถึง 730,000 ตัน 

“หมากฝรั่ง” เคี้ยวเพลินแต่ทำร้ายโลก แถมเปิดโอกาสให้ไมโครพลาสติกเข้าสู่ร่างกายโดยไม่รู้ตัว

สรุปข่าว

หมากฝรั่งส่วนใหญ่ทำจาก ยางสังเคราะห์จากปิโตรเลียม ซึ่งคล้ายพลาสติกและไม่ย่อยสลายตามธรรมชาติ สามารถแตกตัวเป็น ไมโครพลาสติก ได้ การกำจัดหมากฝรั่งที่ถูกคายทิ้งมีต้นทุนสูง อังกฤษใช้งบถึง 7 ล้านปอนด์ต่อปี แนวทางแก้ไขต้องมุ่งให้ความรู้ผู้บริโภค กำหนดมาตรการควบคุม เพราะหมากฝรั่งเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ต้องแก้ไขจริงจัง

หมากฝรั่งที่ถูกคายทิ้งไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และสามารถแตกตัวออกเป็นไมโครพลาสติกได้อีกด้วย หรือแม้กระทั่งตอนที่เรากำลังเคี้ยวอยู่ก็ตาม และส่วนใหญ่พวกมันมักจะถูกทิ้งไม่เป็นที่เป็นทาง มักจะพบเห็นได้ตามทางเดิน กำแพง หรือตามที่นั่งสาธารณะ ซึ่งการกำจัดหมากฝรั่งเหล่านี้ราคาสูงถึง 1.50 ปอนด์ต่อตารางเมตร ทำให้รัฐบาลอังกฤษใช้งบประมาณในกาแก้ปัญหาหมากฝรั่งที่ถูกคายทิ้งมากถึง 7 ล้านปอนด์ต่อปี แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีการติดตั้งจุดอำนวยความสะดวกเพื่อทิ้งหมากฝรั่งเพื่อนำไปรีไซเคิล และป้ายรณรงค์ทิ้งหมากฝรั่งให้ถูกที่ แต่สุดท้ายแล้วก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้

อย่างไรก็ตาม แนวทางแก้ไขปัญหาขยะหมากฝรั่งต้องดำเนินการในหลายด้าน ทั้งการให้ความรู้แก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับส่วนผสมและผลกระทบของหมากฝรั่ง การกำหนดมาตรการควบคุมที่เข้มงวดขึ้น เช่น การเก็บภาษีจากผู้ผลิตหมากฝรั่งสังเคราะห์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาและใช้ทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และผลักดันให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสมของหมากฝรั่งอย่างโปร่งใส เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีข้อมูลครบถ้วน เพราะหมากไม่ใช่แค่ขยะ แต่เป็นอีกหนึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง

ที่มาข้อมูล : theconversation.com

ที่มารูปภาพ : Envato