TNN หน้าต่างอัจฉริยะคล้ายปลาหมึกปรับเปลี่ยนสีและความสว่างของแสงได้

TNN

Tech

หน้าต่างอัจฉริยะคล้ายปลาหมึกปรับเปลี่ยนสีและความสว่างของแสงได้

หน้าต่างอัจฉริยะคล้ายปลาหมึกปรับเปลี่ยนสีและความสว่างของแสงได้

หน้าต่างอัจฉริยะคล้ายปลาหมึกปรับเปลี่ยนสีและความสว่างของแสงได้ใช้พลังงานลดลงประมาณ 25% ต่อปี

หน้าต่างกระจกใสที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันกำลังเปลี่ยนไปหลังจากนักวิจัยมหาวิทยาลัยโทรอนโต ประเทศแคนาดา ประสบความสำเร็จในการวิจัยพัฒนาหน้าต่างอัจฉริยะที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการเปลี่ยนสีของปลาหมึกในทะเลทำให้ผู้ใช้งานสามารถควบคุมความสว่างของหน้าต่างได้ตามความต้องการ


เทคโนโลยีเบื้องหลังหน้าต่างเปลี่ยนสีได้นี้ทีมนักวิจัยใช้แผ่นพลาสติกใสหลายชั้นวางซ้อนกัน โดยในพลาสติกแต่ละแผ่นมีช่องว่างสำหรับใส่ไมโครแชนเนลหนาระดับมิลลิเมตรเพื่อให้ของเหลวที่มีเม็ดสีต่าง ๆ ที่ถูกปั๊มเข้ามาสามารถไหลผ่านเข้าออกจากช่องว่างของแต่ละแผ่น เมื่อของเหลวที่มีเม็ดสีไหลผ่านจะส่งผลต่อความสว่างของหน้าต่าง 


ทีมนักวิจัยได้ใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์คำนวณปริมาณแสงที่ผ่านหน้าต่างอัจฉริยะในรูปแบบต่าง ๆ และประมาณการว่าหากใช้หน้าต่างอัจฉริยะในแบบที่ป้องกันแสงอินฟราเรดจะสามารถช่วยให้พลังงานภายในตัวอาคารลดลงประมาณ 25% ต่อปี แต่หากใช้หน้าต่างอัจฉริยะในแบบที่ป้องกันแสงธรรมชาติที่มองเห็นได้ทั่วไปอาจสามารถช่วยให้การใช้พลังงานภายในตัวอาคารลดลงได้ถึงประมาณ 50% ต่อปี


แนวคิดการประหยัดพลังงาน


ทั้งหมดนี้เป็นแนวคิดการประหยัดพลังงานซึ่งใช้หลักการควบคุมแสงสว่างที่ส่องเข้ามาภายในตัวอาคารซึ่งจะมีผลโดยตรงต่ออุณหภูมิ ตัวอย่างเช่น อาคารในประเทศเขตอากาศหนาวอาจต้องการแสงสว่างเพื่อให้ความอบอุ่นภายในตัวอาคารและลดการทำงานของเครื่องทำความร้อน ขณะเดียวกันอาคารในประเทศเขตอากาศร้อนอาจไม่ต้องการให้แสงส่องเข้ามาภายในตัวอาคารมากนักเพื่อลดการทำงานหนักของเครื่องปรับอาคาร

ที่มาของข้อมูล Newatlas 

ที่มาของข้อมูล Raphael Kay, Adrian So, University of Toronto


ข่าวแนะนำ