TNN NASA ค้นพบดาวเคราะห์คล้ายโลกดวงที่ 2 อาจมีน้ำและสามารถอยู่อาศัยได้

TNN

Tech

NASA ค้นพบดาวเคราะห์คล้ายโลกดวงที่ 2 อาจมีน้ำและสามารถอยู่อาศัยได้

NASA ค้นพบดาวเคราะห์คล้ายโลกดวงที่ 2 อาจมีน้ำและสามารถอยู่อาศัยได้

นาซา (NASA) ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ (Exoplanet) ที่มีลักษณะคล้ายโลกเป็นดวงที่ 2 ซึ่งอาจมีน้ำและสามารถอยู่อาศัยได้


นาซา (NASA) ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ (Exoplanet) ที่มีลักษณะคล้ายโลกเป็นดวงที่ 2 ซึ่งอยู่ในเขตเอื้ออาศัย (Habitable Zone) ที่มีความหมายว่าดาวเคราะห์ดวงดังกล่าวอาจมีน้ำอยู่บนพื้นผิวและสามารถอยู่อาศัยได้


บริวารของดาวแคระแดงทีโอไอ 700 (TOI 700) 

โดยดาวเคราะห์ดวงนี้มีชื่อว่าทีโอไอ 700 อี (TOI 700 e) เป็นดาวบริวารของดาวแคระแดงทีโอไอ 700 (TOI 700) ที่อยู่ห่างจากโลกของเราออกไปประมาณ 100 ปีแสง ซึ่งมีดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ อีกที่โคจรรอบดาวแคระแดงทีโอไอ 700 ได้แก่ ทีโอไอ 700 บี (TOI 700 b), ทีโอไอ 700 ซี (TOI 700 c) และทีโอไอ 700 ดี (TOI 700 d)


แม้ว่าจะมีดาวเคราะห์ถึง 4 ดวง ในระบบ แต่มีดาวเคราะห์เพียง 2 ดวง เท่านั้นที่ถูกนิยามว่าอยู่ในเขตเอื้ออาศัย นั่นก็คือทีโอไอ 700 ดีและทีโอไอ 700 อี ซึ่งเขตเอื้ออาศัยมีความหมายว่าบริเวณที่ดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดาวฤกษ์แม่ของมันแบบไม่ใกล้หรือไกลเกินไป จนทำให้มีน้ำในลักษณะของเหลวอยู่บนพื้นผิว 

NASA ค้นพบดาวเคราะห์คล้ายโลกดวงที่ 2 อาจมีน้ำและสามารถอยู่อาศัยได้

โดยก่อนหน้านี้ในปี 2020 นาซาเคยประกาศค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะคล้ายโลกมาแล้ว นั่นก็คือทีโอไอ 700 ดี ต่อมาได้มีการตรวจพบการมีอยู่ของทีโอไอ 700 อี ซึ่งพึ่งจะถูกค้นพบและประกาศให้เป็นดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะคล้ายโลกดวงที่ 2 เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2023 โดยมีขนาดประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์ ของโลก

NASA ค้นพบดาวเคราะห์คล้ายโลกดวงที่ 2 อาจมีน้ำและสามารถอยู่อาศัยได้

สำหรับทีโอไอ 700 ดีมีคาบการโคจรรอบดาวฤกษ์แม่ของมันอยู่ที่ 32 วัน และทีโอไอ 700 อีมีคาบการโคจรรอบดาวฤกษ์แม่ของมันอยู่ที่ 28 วัน แน่นอนว่าตัวอักษรอี (e) ตามมาทีหลังดี (d) แต่พวกมันไม่ได้ถูกตั้งชื่อตามลำดับวงโคจร โดยเป็นการตั้งชื่อตามลำดับการค้นพบ ซึ่งค้นพบทีโอไอ 700 อีทีหลัง แต่มันมีวงโคจรที่ใกล้กับดาวฤกษ์แม่มากกว่า จึงเป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 3 ในระบบ


วิธีสังเกตการณ์แบบผ่านหน้า (Transting) 

โดยนักดาราศาสตร์ได้ข้อมูลการสังเกตการณ์มาจากดาวเทียมเทสส์ (TESS หรือ Transiting Exoplanet Survey Satellite) ซึ่งใช้วิธีสังเกตการณ์แบบผ่านหน้า (Transiting) เมื่อดาวเคราะห์เคลื่อนที่ผ่านหน้าดาวฤกษ์แม่ของมัน แสงของดาวฤกษ์แม่จะเปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นวิธีที่นักดาราศาสตร์ใช้ในการสังเกตดาวฤกษ์ดวงอื่น ๆ ว่ามันมีบริวารโคจรรอบมันหรือไม่

ข้อมูลและภาพจาก NASA

ข่าวแนะนำ