ทดสอบต้นแบบ Semi-Sub เรือกึ่งดำน้ำปูทางไปสู่ยานพาหนะประหยัดพลังงาน
ต้นแบบเรือกึ่งดำน้ำ (Semi-Submersible) ใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ในการขึ้นรูปโครงสร้างความยาว 45 เซนติเมตร กว้าง 10 เซนติเมตร
ศาสตราจารย์คอนสแตนติน มัทวีเยฟ (Konstantin Matveev) นักวิจัยมหาวิทยาลัยแห่งรัฐวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มต้นทดสอบต้นแบบเรือกึ่งดำน้ำ (Semi-Submersible) ปูทางไปสู่การพัฒนายานพาหนะทางน้ำประหยัดพลังงานมากขึ้น หลังจากมองเห็นปัญหาของยานพาหนะทางน้ำที่สิ้นเปลืองพลังงานสูงและเดินทางได้ช้า
โครงสร้างของต้นแบบเรือกึ่งดำน้ำ (Semi-Submersible) ใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ในการขึ้นรูปโครงสร้างความยาว 45 เซนติเมตร กว้าง 10 เซนติเมตร ติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้าเคลื่อนที่แบบกึ่งดำน้ำมีบางส่วนของเรือโผล่ขึ้นเหนือผิวน้ำ เรือวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 1.5 เมตร ต่อวินาที ไม่จำเป็นต้องเคลื่อนที่เร็วกว่านี้เนื่องจากเป็นการทดสอบต้นแบบ การทดสอบมีขึ้นในน้ำแม่น้ำ รัฐวอชิงตัน
ศาสตราจารย์คอนสแตนติน มัทวีเยฟ (Konstantin Matveev) ยืนยันว่าต้นแบบเรือกึ่งดำน้ำสามารถประหยัดพลังงานได้มากกว่าเรือดำน้ำและเรือบนผิวน้ำที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากต้นแบบเรือกึ่งดำน้ำมีระนาบสัมผัสผิวน้ำที่เล็กกว่าและหากมันทำความเร็วสูงจะสามารถลดแรงต้านทานของคลื่นลงได้มากกว่าเรือบนผิวน้ำที่ทำความเร็วสูง
ผลงานการทดสอบต้นแบบเรือกึ่งดำน้ำ (Semi-Submersible) ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Unmanned Systems ในช่วงปีปลายปี 2022 ที่ผ่านมา การทดสอบในครั้งหากได้รับการพัฒนาต่อยอดอาจสามารถช่วยลดการใช้พลังงานของเรือขนส่งสินค้า รวมไปถึงการพัฒนาเรือดำน้ำรูปแบบใหม่ที่สามารถเคลื่อนที่ใต้ผิวน้ำโดยไม่จำเป็นต้องดำน้ำลงไปทั้งลำเรือแต่สามารถปฏิบัติภารกิจใต้น้ำได้หลายรูปแบบ
ที่มาของข้อมูล Newatlas
ที่มาของรูปภาพ Washington
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67