TNN ญี่ปุ่นประกาศสนับสนุน NASA สร้างเกตเวย์ในโครงการอาร์เทมิส

TNN

Tech

ญี่ปุ่นประกาศสนับสนุน NASA สร้างเกตเวย์ในโครงการอาร์เทมิส

ญี่ปุ่นประกาศสนับสนุน NASA สร้างเกตเวย์ในโครงการอาร์เทมิส

รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศสนับสนุนนาซา (NASA) ในการสร้างเกตเวย์ (Gateway) ในโครงการอาร์เทมิส (Artemis) รวมถึงข้อตกลงในการใช้เกตเวย์ร่วมกันด้วย

เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2022 ที่ผ่านมา ภายใต้การพบปะแบบออนไลน์ที่ศูนย์อวกาศเคนเนดี (Kennedy Space Center) ในรัฐฟลอริดา บิล เนลสัน (Bil Nelson) ผู้บริหารของนาซา (NASA) และเกอิโกะ นากาโอกะ (Keiko Nagaoka) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, วัฒนธรรม, กีฬา, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศญี่ปุ่น (MEXT) ได้ร่วมลงนามในข้อตกลงการสนับสนุนการสร้างและใช้เกตเวย์ (Gateway) ร่วมกัน 

ญี่ปุ่นประกาศสนับสนุน NASA สร้างเกตเวย์ในโครงการอาร์เทมิส

เกตเวย์ (Gateway) คืออะไร 

เกตเวย์หรือลูนาร์ เกตเวย์ (Gateway) เป็นส่วนหนึ่งของโครงการอาร์เทมิส (Artemis Program) จะทำหน้าที่โคจรรอบดวงจันทร์ คล้ายกับที่สถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) โคจรรอบโลก เพื่อเป็นสถานที่สำหรับทำการวิจัยและเป็นที่อยู่อาศัยของนักบินอวกาศ

ญี่ปุ่นประกาศสนับสนุน NASA สร้างเกตเวย์ในโครงการอาร์เทมิส

บทบาทของประเทศญี่ปุ่น 

โดยประเทศญี่ปุ่นจะทำหน้าที่สร้างโมดูลที่อยู่อาศัยระหว่างประเทศ (I-HAB) ของเกตเวย์ ซึ่งจะมีระบบควบคุมสิ่งแวดล้อมและช่วยชีวิต (ECLSS), ระบบควบคุมอุณหภูมิ และกล้อง สำหรับเป็นพื้นที่ให้นักบินอวกาศอยู่อาศัย, ทำงานวิจัย และเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจบนพื้นผิวดวงจันทร์ นอกจากนี้ยังจะช่วยจัดหาแบตเตอรี่สำหรับโมดูล และยานอวกาศเอชทีวี- เอ็กซ์จี (HTV-XG) สำหรับสนับสนุนด้านลอจิสติกส์


ในข้อตกลงดังกล่าว นาซาจะเปิดให้นักบินอวกาศขององค์การอวกาศญี่ปุ่น (JAXA) ทำหน้าที่เป็นลูกเรือบนเกตเวย์ในภารกิจอาร์เทมิส (Artemis Mission) ในอนาคต ซึ่งนักบินอวกาศขององค์การอวกาศญี่ปุ่นจะได้เดินทางด้วยจรวดเอสแอลเอส (SLS) และยานอวกาศโอไรออน (Orion) ของนาซา


นอกจากนี้ เกอิโกะ นากาโอกะยังได้ประกาศถึงความมุ่งมั่นของประเทศญี่ปุ่นที่จะเข้าร่วมในโครงการสถานีอวกาศนานาชาติจนถึงปี 2030 ทำให้ประเทศญี่ปุ่นเป็นพันธมิตรระหว่างประเทศรายแรกที่ประกาศตนอย่างเป็นทางการในการเข้าร่วม ซึ่งสถานีอวกาศนานาชาติในปัจจุบันถูกกำหนดอายุการใช้งานไว้ถึงปี 2030 ก่อนที่จะถูกปลดประจำการ แล้วหันไปใช้สถานีอวกาศนานาชาติแห่งใหม่แทน


ข้อมูลและภาพจาก www.nasa.gov

ข่าวฮิตติดแท็ก

ข่าวแนะนำ