APEC 2022 งานวิจัยเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดคว้ารางวัล APEC Healthy Women Prize
ผลงานการศึกษาเพื่อพัฒนานวัตกรรมสำหรับคัดกรองภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาที่มีความครอบคลุมและราคาไม่แพง ได้รับรางวัลเอเปค (APEC) ในสาขาสุขภาพสตรี
สำหรับรางวัลเอเปค (APEC) สาขาสุขภาพสตรี (Healthy Women Prize) ประจำปี 2022 ได้ตกเป็นของดร. เจิ้ง รูยมิน (Dr Zheng Ruimin) ผู้อำนวยการแผนกสุขภาพสตรีศูนย์สุขภาพสตรีและเด็กแห่งชาติจีน ด้วยงานวิจัยเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดา
แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า
โดยงานวิจัยของดร. เจิ้ง รูยมินได้นำไปสู่การพัฒนากลยุทธ์การคัดกรองภาวะซึมเศร้าในมารดา ซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่ระยะต้นของการตั้งครรภ์ไปจนถึงหลังคลอด โดยดร. เจิ้ง รูยมินแนะนำว่าการตรวจหาภาวะซึมเศร้าหลังคลอด มารดาควรทำแบบคัดกรองตั้งแต่เนิ่น ๆ และต่อเนื่องเป็นระยะไปจนถึงช่วงหลังคลอด
สตรีสุขภาพดี เศรษฐกิจแข็งแรง
อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีเพียงประชาชนเพศหญิงเท่านั้นที่จะได้รับประโยชน์จากแบบคัดกรองนี้ แต่ทั้งประเทศที่นำไปใช้จะได้รับประโยชน์ด้วย เนื่องจากภาวะซึมเศร้า และโรคซึมเศร้าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่กำลังทำให้จำนวนประชากรทั่วโลกลดลง ซึ่งส่งผลต่อภาพรวมของเศรษฐกิจในประเทศ
ไม่เพียงเท่านั้น ตามรายงานของกระดานสตรีและเศรษฐกิจเอเปค (APEC Women and the Economy Dashboard) ระบุว่าการระบาดใหญ่ได้ทำให้ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมทวีความรุนแรงขึ้น โดยผู้หญิงต้องประสบกับความสูญเสียอย่างรุนแรงจากผลกระทบทางเศรษฐกิจและการหยุดชะงักทางดิจิทัลที่เกิดจากการระบาดใหญ่
โดยงานวิจัยของดร. เจิ้ง รูยมินแสดงให้เห็นว่าเมื่อผู้ให้บริการนำกลยุทธ์การคัดกรองภาวะซึมเศร้าหลังคลอดดังกล่าวมาใช้ อัตราการเกิดภาวะซึมเศร้าของมารดามีตัวเลขที่ลดลงอย่างมาก ซึ่งทำให้สถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของสตรีดีขึ้น รวมถึงผลลัพธ์ด้านสุขภาพระหว่างการคลอดบุตรด้วย
“หลังจากระบุได้ว่าไม่มีกลยุทธ์ด้านสุขภาพที่จัดการกับอุบัติการณ์สูงของภาวะซึมเศร้าของมารดาทั่วโลก ฉันได้ทำงานเพื่อพัฒนากลยุทธ์การคัดกรองที่คุ้มค่าใช้จ่าย ซึ่งประเทศต่าง ๆ สามารถรวมเข้ากับแนวทางปฏิบัติด้านสุขภาพของมารดาได้” - ดร. เจิ้ง รูยมินกล่าว
ข้อมูลและภาพจาก www.apec.org
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67