สหประชาชาติใช้ดาวเทียมตรวจหาประเทศที่ปล่อยมลพิษขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศโลก
ระบบแจ้งเตือนและตอบสนองต่อก๊าซมีเทน (MARS) บนโลก
บทบาทของสหประชาชาติไม่ได้มีอยู่แค่ในด้านของความมั่นคงเท่านั้นยังรวมไปถึงการมีส่วนร่วมลดภาวะโลกร้อน ล่าสุดสหประชาชาติได้เปิดตัวระบบแจ้งเตือนและตอบสนองต่อก๊าซมีเทน (MARS) บนโลก ระบบทำงานร่วมกับดาวเทียมบนอวกาศเพื่อระบุตำแหน่งและแจ้งเตือนประเทศที่ปล่อยก๊าซมีเทนในปริมาณสูงผิดปกติ
ระบบแจ้งเตือนและตอบสนองต่อก๊าซมีเทน (MARS) รองรับการตรวจสอบระดับของก๊าซมีเทนทั้งจากแหล่งผลิตขนาดใหญ่ในโรงงานอุตสาหกรรม ถ่านหิน บริเวณพื้นที่ชุมชนเมือง รวมไปถึงพื้นที่ทางการเกษตรและเลี้ยงสุดขนาดใหญ่
ข้อมูลที่ได้จากระบบแจ้งเตือนดังกล่าวจะถูกส่งไปที่สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศและพันธมิตรด้านสภาพภูมิอากาศและอากาศบริสุทธิ์ของสหประชาชาติเพื่อทำหน้าที่ประสานงานไปยังประเทศต่าง ๆ ที่ระบบตรวจพบสิ่งผิดปกติ โดยองค์การสหประชาชาติจะเปิดเผยข้อมูลการวิเคราะห์ระดับมลพิษภายใน 45-75 วันหลังจากตรวจพบมลพิษ
การพัฒนาระบบที่มีความซับซ้อนนี้ได้รับแหล่งเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ร่วมกับคณะกรรมาธิการยุโรป กองทุน Bezos Earth และ Global Methane Hub ที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อศึกษาการปล่อยก๊าซมีเทนทางการเกษตรเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
ระบบแจ้งเตือนและตอบสนองต่อก๊าซมีเทน (MARS) เป็นระบบแรก ๆ ที่องค์การสหประชาชาติเปิดเผยต่อสาธารณะเพื่อเป้าหมายการควบคุมและลดโลกร้อน โดยสหประชาชาติยืนยันว่าก๊าซมีเทนเป็นตัวกลางหนึ่งที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศประมาณ 25% ตามข้อมูลที่เปิดเผยของสหประชาชาติ
อย่างไรก็ตามข้อมูลการสำรวจผ่านดาวเทียมขององค์การสหประชาชาติ ไม่มีผลบังคับใช้ในกฎหมายประเทศอื่น ๆ ดังนั้นสหประชาชาติจึงทำได้เพียงพอความร่วมมือและยื่นแนวทางการแก้ไขรูปแบบต่าง ๆ
ที่มาของข้อมูล engadget.com
ที่มาของรูปภาพ nasa.gov
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67