TNN จรวดความเร็วเสียง ฝีมือทีมนักศึกษาวิศวะจุฬาฯ

TNN

Tech

จรวดความเร็วเสียง ฝีมือทีมนักศึกษาวิศวะจุฬาฯ

จรวดความเร็วเสียง ฝีมือทีมนักศึกษาวิศวะจุฬาฯ

รู้จักจรวดเคอร์เซอร์วัน (CURSR-1) จรวดความเร็วเสียงใช้ซ้ำได้ ฝีมือทีมนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จรวดของทีมนิสิตชมรม CUHAR (Chulalongkorn University High Altitude Research Club) จากสาขาวิศวกรรมอากาศยาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีชื่อว่า  “เคอร์เซอร์วัน (CURSR-1)” ซึ่งได้รับรางวัลรองชนะเลิศด้านความเป็นเลิศแห่งนวัตกรรมการออกแบบจรวดความเร็วเสียง จากการแข่งขันวิศวกรรมจรวดระดับอุดมศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในโลก “Spaceport America Cup 2022”

จรวดความเร็วเสียง ฝีมือทีมนักศึกษาวิศวะจุฬาฯ

โครงสร้างของจรวดเคอร์เซอร์วัน (CURSR-1) 

โดยโครงสร้างของจรวดแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ ภายนอก และภายใน ซึ่งโครงสร้างภายนอกจะต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เนื่องจากไม่สามารถผลิตเองได้ในประเทศไทย เพราะยังมีข้อจำกัดบางประการ ในขณะที่โครงสร้างภายในทางทีมได้ทำการพัฒนาขึ้นมาเอง ซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้


- หัวจรวด (Nose Cone) ที่ทำจากไฟเบอร์กลาสผสมกับกาวชนิดพิเศษ 


- โครงสร้างลำตัวจรวด (Fuselage) ที่มีไว้สำหรับบรรจุการทดลอง 


- โครงสร้างบรรจุระบบดีดตัว (Ejection System) มีไว้ควบคุมการปล่อยตัวของร่มชูชีพ 


- แผ่นรับแรง (Thrust plate) อันเป็นหัวใจสำคัญของจรวด ในการอัดแรงเข้าไป 3,300 นิวตัน เพื่อให้จรวดทะยานขึ้นสู่ท้อง

จรวดความเร็วเสียง ฝีมือทีมนักศึกษาวิศวะจุฬาฯ

โดยจรวดความเร็วเสียงเคอร์เซอร์วันถูกสร้างและออกแบบมาสำหรับยิงในความสูงระดับ 10,000 ฟุต หรือราว 3 กิโลเมตร ด้วยมอเตอร์ขนาด 75 มิลลิเมตร ทำให้สามารถบรรลุความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 0.80 มัค หรือ 987 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และอาศัยการขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงแข็ง นอกจากนี้ ยังเป็นจรวดที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และสามารถใส่ดาวเทียมขนาดเล็กทรงลูกบาศก์ หรือ CubeSat ขนาด 5U ได้ด้วย


อนาคตของการส่งจรวด 

โดยองค์ความรู้ที่ได้จากการสร้างจรวดเคอร์เซอร์วัน จะทำให้ในอนาคตคนไทยสามารถสร้างจรวดได้เอง ซึ่งจะลดงบประมาณที่ใช้ในการปล่อยจรวดลงมากถึง 80 - 90 เปอร์เซ็นต์ โดยจรวดขนาดเล็กจะได้เปรียบจรวดขนาดใหญ่ เนื่องจากใช้งบประมาณน้อยกว่า และไม่ต้องรอวันปล่อยที่แน่นอน

ข่าวแนะนำ