TNN ชมดวงจันทร์สีเลือดคืนนี้ ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่ 2 ของปี 2022

TNN

Tech

ชมดวงจันทร์สีเลือดคืนนี้ ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่ 2 ของปี 2022

ชมดวงจันทร์สีเลือดคืนนี้ ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่ 2 ของปี 2022

8 พฤศจิกายน 2022 (คืนนี้) ดวงจันทร์สีเลือดปรากฏบนท้องฟ้านาน 85 นาที ซึ่งเป็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่ 2 ของปี 2022

ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่ 2 ของปี 2022 ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2022 (คืนนี้) ดวงจันทร์บนท้องฟ้าจะปรากฏให้เห็นเป็นสีทองแดง หรือที่เรียกว่าดวงจันทร์สีเลือด (Blood Moon) ซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่านาน 85 นาที จากอเมริกาใต้, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และเอเชีย รวมถึงประเทศไทยด้วย


ในขณะที่ไอซ์แลนด์, บางส่วนของอเมริกาใต้, เอเชียใต้ และตอนใต้และตอนกลางของเอเชียและรัสเซีย จะสามารถมองเห็นจันทรุปราคาได้บางส่วน นอกจากนี้ในพื้นที่บราซิลตะวันออก, อาร์เจนตินา, สแกนดิเนเวียตอนเหนือ และตะวันออกกลาง จะสามารถมองเห็นจันทรุปราคาเงามัวได้


การเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคา 

โดยปรากฏการณ์จันทรุปราคาเป็นปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์, โลก และดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวระนาบเดียวกัน ซึ่งมีโลกอยู่ระหว่างดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ก่อให้เงามืด (Umbra Shadow) และเงามัว (Penumbra Shadow) โดยเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่เข้าไปอยู่ในเงามืดของโลก คนในพื้นที่บนโลกส่วนที่หันเข้าหาดวงจันทร์จึงเห็นเป็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง (Total Lunar Eclipse) 

ชมดวงจันทร์สีเลือดคืนนี้ ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่ 2 ของปี 2022

ในขณะที่เมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่เข้าผ่านเงามืดของโลกบางส่วน จะทำให้คนในพื้นที่บนโลกส่วนที่หันเข้าหาดวงจันทร์เห็นเป็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน (Partial Lunar Eclipse) และเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนผ่านเงามัวของโลก โดยไม่ผ่านเงามืด จะทำให้ยังเห็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง แต่ความสว่างลดน้อยลง


ปรากฏการณ์จันทรุปราคาในประเทศไทย 

โดยในคืนนี้จะสามารถสังเกตเห็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงในครั้งนี้ได้ตั้งแต่เวลา 15.02 น. - 20.56 น. ซึ่งดวงจันทร์จะโผล่พ้นขอบฟ้าทางทิศตะวันออกในประเทศไทยเวลา 17.44 น. ดังนั้นคนไทยจึงจะสามารถเห็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงได้ตั้งแต่เวลานี้เป็นต้นไป หากพลาดชมปรากฏการณ์จันทรุปราคาในคืนนี้จะต้องรอชมครั้งต่อไปในปี 2025


ข้อมูลจาก www.space.com

ภาพจาก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ และ www.space.com

ข่าวแนะนำ