5 เทคโนโลยีด้านสุขภาพช่วยผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงการรักษา
รวม 5 เทคโนโลยีที่เป็นตัวช่วยให้กับผู้ป่วยซึมเศร้าสามารถติดตามอารมณ์, อาการ และเข้าถึงการช่วยเหลือ ก่อนนำไปสู่การตัดสินใจทำร้ายตนเอง
รู้หรือไม่ ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามากถึง 1.5 ล้านคน อันเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตถึง 4,000 รายต่อปี และพยายามคิดสั้นถึง 53,000 คนต่อปี โดยเราได้รวบรวม 5 เทคโนโลยีช่วยผู้ป่วยซึมเศร้า ดังนี้
กลุ่มสนับสนุนบนโลกอินเทอร์เน็ต
เช่น กลุ่มบนเฟซบุ๊ก (Facebook), โอเพนแชท (Open chat) ในไลน์ (Line) และอื่น ๆ โดยการพูดคุยกับคนที่เผชิญปัญหาแบบเดียวกัน หรือเคยเผชิญปัญหาแบบเดียวกัน อาจนำไปสู่ความสบายใจ และในบางกลุ่มมีผู้เชี่ยวชาญอย่างจิตแพทย์เป็นเจ้าของกลุ่มคอยดูแลและให้คำแนะนำด้วย
แอปพลิเคชันเกี่ยวกับสุขภาพจิต
เช่น หมอพร้อม, อูก้า (Ooca) และอื่น ๆ
โดยแต่ละแอปพลิเคชันจะมีฟีเจอร์การใช้งานแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นการประเมินความเครียดขั้นพื้นฐาน, การให้คำแนะนำฟรี รวมไปถึงบริการพูดคุยกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยา
การใช้บริการจิตแพทย์ผ่านเทเลเฮลท์ (Telehealth)
สำหรับเทเลเฮลท์เป็นการให้บริการแพทย์จากส่วนกลางผ่านการสื่อสารทางไกล นิยมใช้มากในช่วงการระบาดหนักของโควิด 19 (Covid 19) ที่ต้องทำการโฮมไอโซเลต (Home Isolate) เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงแพทย์จากส่วนกลางได้จากทางไกล
ฟีเจอร์คัดกรองภาวะซึมเศร้าของกูเกิล (Google)
หากมีการค้นหาเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าบนกูเกิล จะมีการแสดงเกี่ยวกับอาการซึมเศร้า, การรักษา และโรคที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เพื่อสร้างการตระหนักรู้เท่าทันและนำไปสู่การเข้าถึงการรักษาที่ทันท่วงที
แอปพลิเคชันติดตามพฤติกรรม
ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันสำหรับติดตามความเร็วในการพิมพ์ที่เพิ่มขึ้น, การช็อปปิ้งที่หุนหันพลันแล่น และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบอื่น ๆ เช่น ยูมอร์ (uMore), แบร์เอเบิล (Bearable) และอื่น ๆ โดยพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันมีนัยสำคัญที่หมายถึงความเศร้าหรือความเครียดในจิตใจ
ข้อมูลจาก www.healthtechzone.com และ www.hfocus.org
ภาพจาก blog.ooca.co และ unsplash.com
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67