รู้จัก 6 กระสวยอวกาศขององค์การนาซา ตัวอย่างภารกิจในประวัติศาสตร์
รู้จัก 6 กระสวยอวกาศขององค์การนาซา อวกาศยานที่มีบทบาทสำคัญต่อการส่งดาวเทียม, มนุษย์ รวมไปถึงสถานีอวกาศนานาชาติสู่วงโคจร
ยุคกระสวยอวกาศ
ก่อนหน้านี้ในการสำรวจอวกาศเคยมียุคที่เรียกว่า “ยุคกระสวยอวกาศ (Space Shuttle Era)” ซึ่งกระสวยอวกาศเป็นอวกาศยานชนิดแรกที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ โดยมันถูกใช้ทั้งในภารกิจส่งมนุษย์ขึ้นสู่วงโคจร, ปล่อย กู้คืน และซ่อมแซมดาวเทียม ไปจนถึงสร้างโครงสร้างของสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS)
กระสวยอวกาศทั้ง 6 ลำ
โดยกระสวยอวกาศขององค์การนาซา (NASA) มีทั้งหมด 6 ลำ ได้แก่
กระสวยอวกาศเอนเตอร์ไพรส์ (Enterprise) เปิดตัวเมื่อ 17 กันยายน 1976 เป็นต้นแบบของกระสวยอวกาศลำอื่น ๆ ซึ่งมันไม่เคยได้ขึ้นบินสู่อวกาศเลย แต่ถูกใช้ไปกับการทดสอบขั้นตอนสำคัญของการลงจอดและแง่มุมอื่น ๆ
กระสวยอวกาศโคลัมเบีย (Columbia) เปิดตัวเมื่อ 8 มีนาคม 1979 เป็นกระสวยอวกาศลำแรกที่มีการใช้งานจริง โดยหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจในเที่ยวบินที่ 28 และกำลังเดินทางกลับสู่พื้นโลก กระสวยอวกาศได้เกิดการระเบิด ส่งผลให้นักบินอวกาศทั้ง 7 คน ที่อยู่ในกระสวยอวกาศ ณ ขณะนั้นเสียชีวิต
กระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ (Challenger) เปิดตัวเมื่อ 30 มิถุนายน 1982 เป็นกระสวยอวกาศลำแรกที่พานักบินอวกาศไปทำสเปซวอร์ก (Spacewalk) ครั้งแรกในอวกาศสำเร็จ อีกทั้งยังเป็นกระสวยอวกาศลำแรกที่ใช้ทำการดึงดาวเทียมออกจากวงโคจร เพื่อทำการซ่อมแซมและส่งกลับ
กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี (Discovery) เปิดตัวเมื่อ 15 ตุลาคม 1983 เป็นกระสวยอวกาศที่ถูกใช้สำหรับการส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) ขึ้นสู่อวกาศ และเป็นกระสวยอวกาศลำแรกที่ได้รับการปลดประจำการ
กระสวยอวกาศแอตแลนติส (Atlantis) เปิดตัวเมื่อ 6 มีนาคม 1985 เป็นกระสวยอวกาศที่ใช้สำหรับการส่งอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ รวมไปถึงการส่งยานอวกาศกาลิเลโอ (Galileo) ในการเดินทางไปสำรวจดาวพฤหัสบดี
กระสวยอวกาศเอนเดฟเวอร์ (Endeavour) เปิดตัวเมื่อ 25 เมษายน 1991 เป็นกระสวยอวกาศที่สร้างขึ้นเป็นลำสุดท้าย ถูกใช้ส่งนักบินอวกาศไปทำสเปซวอร์ก เพื่อดึงดาวเทียมออกจากวงโคจรมาทำการซ่อม แล้วส่งกลับสู่วงโคจร อีกทั้งยังเป็นกระสวยอวกาศลำแรกสำหรับปฏิบัติการบำรุงรักษากล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ครั้งที่ 1
ข้อมูลและภาพจาก www.nasa.gov
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67