TNN เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของจีน อาจให้พลังงานกับสถานีอวกาศได้ถึง 10 สถานี

TNN

Tech

เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของจีน อาจให้พลังงานกับสถานีอวกาศได้ถึง 10 สถานี

เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของจีน อาจให้พลังงานกับสถานีอวกาศได้ถึง 10 สถานี

ตามการประมาณการของนาซา (NASA) เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของประเทศจีน อาจให้พลังงานกับสถานีอวกาศนานาชาติได้มากถึง 10 สถานี

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศจีน (Ministry of Science and Technology) ได้อนุมัติโครงการเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในอวกาศ โดยมีเป้าหมายเพื่อผลิตไฟฟ้าในระดับเมกะวัตต์ ในขณะที่แผงโซลาร์เซลล์บนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากสุดที่ 120 กิโลวัตต์ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ดังกล่าวจึงจะผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอสำหรับสถานีอวกาศนานาชาติได้มากถึง 10 สถานี โดยประมาณ


โดยเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์นี้เริ่มต้นมาจากการเป็นส่วนหนึ่งของโครงการความสนใจอย่างแรงกล้าของชาวจีนในการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์เพื่อใช้ในอวกาศ (a strong Chinese interest in developing nuclear power for use in space) ในปี 2019


ต่อมาในปี 2021 สำนักข่าวเซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ (South China Morning Post) ที่ควบคุมการทำงานโดยรัฐบาลได้เผยว่าตัวต้นแบบของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ดังกล่าวถูกออกแบบเสร็จสิ้นแล้ว


ซึ่งประเทศจีนเป็นประเทศที่มีประสบการณ์ค่อนข้างมากในการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในอวกาศ เช่น “อี้ว์ทู่ (Yutu-2)” หรือ “กระต่ายหยก”ยานลงจอดบนดวงจันทร์ของฉางเอ๋อ 3 (Chang'e 3) ที่ใช้เครื่องกำเนิดพลังงานนิวเคลียร์พลูโทเนียม เพื่อเอาตัวรอดในด้านมืดบนดวงจันทร์ที่ยาวนานติดต่อกันถึง 2 สัปดาห์


ซึ่งด้านมืดบนดวงจันทร์เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างดวงอาทิตย์ โลกและดวงจันทร์ ทำให้ในบ้างด้านและในบางเวลา จะมีด้านที่ไม่ถูกแสงอาทิตย์ส่องโดยตรง และใน 1 ใน 4 ด้าน ของดวงจันทร์จะใช้เวลาประมาณ 15 วัน ในการหลุดออกจากการเป็นด้านมืด


เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของจีน อาจให้พลังงานกับสถานีอวกาศได้ถึง 10 สถานี ภาพจาก socratic.org

ในอนาคตพลังงานนิวเคลียร์อาจตอบโจทย์การผลิตไฟฟ้าในอวกาศมากกว่าการผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ เนื่องจากในบางเวลาและในบางจุดแสงอาทิตย์ไม่สามารถส่องไปถึงได้ หรือส่องไปถึงแต่มีความเข้มข้นของแสงต่ำ ทำให้แผงโซลาร์เซลล์ไม่สามารถใช้การได้


ข้อมูลจาก www.space.com

ภาพจาก www.nasa.gov

ข่าวแนะนำ