TNN เปรียบเทียบจรวดขนส่งอวกาศขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกา

TNN

Tech

เปรียบเทียบจรวดขนส่งอวกาศขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกา

เปรียบเทียบจรวดขนส่งอวกาศขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกา

การแข่งขันนำไปสู่การพัฒนาบริษัทเอกชนหลายแห่งนำเสนอเทคโนโลยีจรวดแบบที่สามารถเดินทางกลับโลกเพื่อใช้งานใหม่ได้ซึ่งช่วยให้โครงการอวกาศของนาซาใช้งบประมาณที่น้อยลง

ปัจจุบันนาซาได้เปิดโอกาสให้บริษัทเอกชนหลายแห่งมีส่วนร่วมในการพัฒนายานอวกาศและจรวดขนส่งอวกาศ การแข่งขันนำไปสู่การพัฒนาบริษัทเอกชนหลายแห่งนำเสนอเทคโนโลยีจรวดแบบที่สามารถเดินทางกลับโลกเพื่อใช้งานใหม่ได้ซึ่งช่วยให้โครงการอวกาศของนาซาใช้งบประมาณที่น้อยลง หรือแม้แต่จรวดแบบที่ไม่สามารถใช้งานซ้ำได้ก็ยังมีงบในการพัฒนาน้อยกว่าในอดีตหลายเท่า


จรวด Vucan Centaur ออกแบบและพัฒนาโดยบริษัท United Launch Alliance จรวดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5.4 เมตร ความสูง 67.4 เมตร จรวดมีกำหนดส่งขึ้นสู่อวกาศครั้งแรกในปี 2022 สามารถขนส่งทรัพยากรและยานอวกาศน้ำหนัก 27.2 ตัน ขึ้นสู่วงโคจรต่ำของโลกและน้ำหนัก 11 ตัน ไปดวงจันทร์ 


จรวด Falcon Heavy พัฒนาโดยบริษัท SpaceX ความสูง 70 เมตร เคยถูกส่งขึ้นสู่อวกาศมาแล้วในปี 2018 โครงสร้างใช้การทำงานร่วมกันของจรวด Falcon 9 อันมีชื่อเสียง 3 ท่อน เชื่อมติดกันจรวดถูกออกแบบให้เดินทางกลับโลกเพื่อใช้งานใหม่และสามารถขนส่งทรัพยากรและยานอวกาศน้ำหนัก 63.8 ตัน ขึ้นสู่วงโคจรต่ำของโลกและน้ำหนัก 16 ตัน ไปดวงจันทร์ มีต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อเที่ยวบิน 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ


จรวด New Glenn พัฒนาโดยบริษัท Blue Origin ความสูง 94.4 เมตร มีกำหนดส่งขึ้นสู่อวกาศครั้งแรกในปี 2022 สามารถในการขนส่งทรัพยากรและยานอวกาศน้ำหนัก 45 ตัน ขึ้นสู่วงโคจรต่ำของโลก สำหรับภารกิจดวงจันทร์บริษัทยังไม่เปิดเผยขีดความสามารถในการบรรทุกขนส่ง


จรวด SLS Block 1 ออกแบบและพัฒนาโดยนาซา ความสูง 98 เมตร มีกำหนดส่งขึ้นสู่อวกาศครั้งแรกในปี 2022 สามารถขนส่งทรัพยากรและยานอวกาศน้ำหนัก 95 ตัน  ขึ้นสู่วงโคจรต่ำของโลกและน้ำหนัก 27 ตัน ไปดวงจันทร์ มีต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อเที่ยวบิน 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ


จรวด Super Heavy และยานอวกาศ Starship ออกแบบและพัฒนาโดยบริษัท SpaceX เพื่อรองรับภารกิจอวกาศที่หลากหลาย จรวดมีความสูง 120 เมตร สามารถขนส่งทรัพยากรและยานอวกาศน้ำหนัก 100 ตัน ไปดวงจันทร์ จรวดถูกออกแบบให้เดินทางกลับโลกเพื่อใช้งานใหม่ อีลอน มัสก์เจ้าของบริษัทกล่าวว่าบริษัทสามารถลดต้นทุนในการขนส่งอวกาศเหลือเพียง 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเที่ยวบิน


ที่มาของข้อมูล aerospaceamerica.aiaa.org

ข่าวแนะนำ