หุ่นยนต์ลิ้น รับรู้-แยกแยะรสชาติได้ ต้นแบบ AI Machine Learning
นักวิจัยจาก IBM Research เปิดตัว HyperTaste เครื่องมือสำหรับการตรวจวัดรสชาติทางเคมี หรือเรียกได้ว่าเป็น "หุ่นยนต์ลิ้น" เซ็นเซอร์ที่ตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมีของของเหลวได้
แพทริค รัช (Patrick Ruch) สมาชิกทีมวิจัยของ IBM Research และผู้เขียนร่วมของบทความเกี่ยวกับ HyperTaste หรือที่เรียกว่าเป็น "หุ่นยนต์ลิ้น" เซ็นเซอร์ที่ตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมีของของเหลวได้
รัชกล่าวว่า "HyperTaste เกิดขึ้นจากการพัฒนาด้าน AI และเป็น Machine learning ที่เลียนแบบประสาทสัมผัสของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น ความสามารถในการมองเห็นและการได้ยิน เพื่อจดจำภาพและตีความคำพูด เราต้องการนำเสนอแนวทางใหม่ ๆ สำหรับการตรวจจับสารเคมี”
แนวคิดดังกล่าว เกิดขึ้นจากการใช้เซ็นเซอร์หลายตัวมารวมตัวกัน และทำงานเหมือนกับปุ่มรับรสบนลิ้นของมนุษย์ โดยใช้อัลกอริทึมของ Machine learning เพื่อตีความผลลัพธ์จากเซ็นเซอร์ โดยทีมงานใช้แผงวงจรที่มีฮาร์ดแวร์เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์และเซ็นเซอร์โพลีเมอร์ที่เป็นสื่อกระแสไฟฟ้า 16 ชุด โดยเซ็นเซอร์ดังกล่าวจะเปลี่ยนกระแสแรงดันไฟฟ้าเมื่อจุ่มลงในสารละลาย
การจุ่มชิ้นส่วนของเซ็นเซอร์ลงในของเหลวจะสร้างชุดสัญญาณแรงดันไฟฟ้า หรือรูปแบบทางเคมีที่มีลักษณะเฉพาะสำหรับของเหลวแต่ละชนิด สัญญาณแรงดันไฟฟ้าเหล่านี้จะถูกส่งไปยังสมาร์ตโฟนที่จะส่งต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์คลาวด์ โดยที่ระบบ Machine learning จะใช้ข้อมูลที่ได้รับมาเพื่อกำหนดอัลกอริทึมและเปรียบเทียบรูปแบบทางเคมีเหล่านั้นกับฐานข้อมูลของเหลวที่รู้จัก จากนั้นอัลกอริทึมจะรายงานผลลัพธ์กลับไปที่แอปพลิเคชันในสมาร์ตโฟน ภายในหนึ่งหรือสองนาที
"ไม่จำเป็นต้องมีห้องทดลองในการทดสอบเช่นนี้ ซึ่งช่วยประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย เราต้องการใช้อุปกรณ์ทดสอบแบบพกพาง่าย ๆ และแสดงถึงความสามารถของระบบตรวจจับสารเคมีดังกล่าว ที่สามารถยกระดับความชาญฉลาดของระบบตรวจจับสารเคมีไปทางด้านซอฟต์แวร์ได้" รัช กล่าว
แม้จะใช้งานได้ง่าย แต่ HyperTaste ก็ไม่ได้ทำขึ้นมาอย่างง่าย ๆ มันถูกสร้างขึ้นโดยการนำความเชี่ยวชาญทั้งด้านเทคโนโลยีเคมีไฟฟ้า และวิทยาศาสตร์วัสดุมารวมกัน
HyperTaste ถูกสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2019 แต่สามารถใช้ได้กับของเหลวบางชนิดเท่านั้น สำหรับตอนนี้ มันสามารถวิเคราะห์ของเหลวที่ซับซ้อนมากขึ้นได้ โดยทีมงานของ IBM ได้ทดสอบความสามารถของ HyperTaste ในการแยกแยะน้ำแร่บรรจุขวดประเภทต่าง ๆ และระบุน้ำผลไม้ตามประเภทผลไม้และไวน์ตามยี่ห้อและแหล่งกำเนิด ประเมินความเข้มข้นของกาแฟ และตรวจจับแอลกอฮอล์ปลอม ซึ่งการวิจัยเกี่ยวกับ HyperTaste นี้อยู่ในส่วนหนึ่งของโครงการริเริ่มการพัฒนาวัสดุของ IBM
"การตีความข้อมูลโดยใช้เครื่องช่วยแบบนี้ อาจเป็นประโยชน์สำหรับห้องปฏิบัติการในอนาคต หากคอมพิวเตอร์สามารถช่วยในการตรวจวัดได้ คุณก็จะสามารถค้นหาวิธีการสังเคราะห์สารประกอบโดยอัตโนมัติ และสั่งผลิตสารประกอบเหล่านั้นได้ทันทีด้วยหุ่นยนต์ หรืออาจสร้างวัสดุประเภทใหม่ที่มีคุณสมบัติดีกว่า และยั่งยืนกว่าได้” รัชสรุป
ที่มาของข้อมูล spectrum.ieee.org
ที่มาของรูปภาพ spectrum.ieee.org
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67