สิงคโปร์เปิดตัวปูนซีเมนต์จากฉี่ ผลิตด้วยกากอุตสาหกรรม ลดโลกร้อน
การผลิตปูนซีเมนต์แบบดั้งเดิม สร้างก๊าซเรือนกระจกจำนวนมาก เนื่องจากส่วนผสมการผลิตปูนต้องใช้อุณหภูมิที่สูงมาก แต่ไม่ใช่ปูนซีเมนต์ชีวภาพชนิดใหม่ล่าสุดตัวนี้ ซึ่งผลิตจากวัสดุเหลือใช้
การผลิตปูนซีเมนต์แบบดั้งเดิม ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมาก เนื่องจากส่วนผสมการผลิตปูนต้องใช้อุณหภูมิที่สูงมาก แต่ไม่ใช่สำหรับกรณีของปูนซีเมนต์ชีวภาพ ซึ่งผลิตจากวัสดุเหลือใช้ชนิดใหม่ล่าสุดตัวนี้
ปูนซีเมนต์ชีวภาพดังกล่าว ถูกพัฒนาขึ้นในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง (Nanyang Technological University) แห่งสิงคโปร์ มีส่วนประกอบจากสารหลัก 2 ชนิด ได้แก่ กากตะกอนคาร์ไบด์อุตสาหกรรม ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการผลิตก๊าซอะเซทิลีน ผสมกับสารยูเรีย ซึ่งได้มาจากปัสสาวะของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น มนุษย์, วัว หรือสุกร
ในขั้นต้น ตะกอนดังกล่าวจะถูกบำบัดด้วยกรด ทำให้ผลิตแคลเซียมที่ละลายน้ำได้ จากนั้นยูเรียจะถูกเติมเข้าไปในแคลเซียมนั้น ทำให้เกิดสารละลายซีเมนต์ และจากนั้น จะมีการเติมแบคทีเรียชนิดพิเศษลงในสารละลาย ซึ่งจะสลายยูเรียให้กลายเป็นไอออนของคาร์บอเนต
และขั้นต่อมา ในกระบวนการที่เรียกว่า การตกตะกอนของแคลไซต์ที่เกิดจากจุลินทรีย์ โดยไอออนของคาร์บอเนตเหล่านั้น จะทำปฏิกิริยากับแคลเซียมไอออนที่ละลายน้ำได้ เพื่อสร้างแคลเซียมคาร์บอเนตที่แข็งตัวได้ และเมื่อส่วนผสมถูกรวมเข้ากับทรายหรือดินในขณะที่เกิดปฏิกิริยา แคลเซียมคาร์บอเนตก็จะจับตัวกับอนุภาคของทรายและดิน และเติมเต็มช่องว่างของอนุภาคเหล่านี้เข้าด้วยกัน
ผลที่ได้ก็จะกลายมาเป็นปูนชีวภาพ ที่เป็นก้อนวัสดุแข็งที่ทนต่อการซึมของน้ำ และเป็นสีเดียวกับทรายหรือดินดั้งเดิม ยิ่งไปกว่านั้น กระบวนการทั้งหมดสามารถเกิดขึ้นในอุณหภูมิห้อง
สำหรับการใช้งานปูนชีวภาพนี้ สามารถใช้ในหลากหลายวัตถุประสงค์ เช่นการเสริมความแข็งแกร่งของพื้นในสถานที่ก่อสร้าง, ลดการกัดเซาะของชายหาด (โดยการสร้างเปลือกแข็งบนทราย) และการสร้างอ่างเก็บน้ำน้ำจืด วัสดุนี้ยังถูกใช้เพื่ออุดรอยแตกและสร้างส่วนของรูปปั้นหินที่เสียหายขึ้นใหม่ได้
ที่มาของข้อมูล Journal of Environmental Engineering, Nanyang University
ที่มาของภาพ Nanyang University
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67