TNN เคนดริก ลามาร์ แรปเปอร์ชื่อดัง ใช้ Deepfake ดึงใบหน้าเซเลบสหรัฐฯ ร่วมแสดงใน MV

TNN

Tech

เคนดริก ลามาร์ แรปเปอร์ชื่อดัง ใช้ Deepfake ดึงใบหน้าเซเลบสหรัฐฯ ร่วมแสดงใน MV

ลามาร์ เผยแพร่มิวสิกวิดีโอสำหรับเพลง The Heart Part 5 เพลงใหม่ล่าสุดของเขา โดยหลังจากที่เขาร้องเพลงไปได้สักพัก เขาก็ใช้มือปัดที่บริเวณใบหน้า และก็ปรากฏใบหน้าของเหล่าเซเลบสหรัฐฯ

โดยคลิปวิดีโอดังกล่าว ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อวันก่อน (9 พ.ค. 2022) ใช้เทคโนโลยี AI ที่สามารถจำลองใบหน้าของบุคคลหนึ่ง มาเป็นภาพเคลื่อนไหว ที่รู้จักกันในชื่อ Deepfake โดยลามาร์ได้ดึงใบหน้าของชาวแอฟริกัน-อเมริกันที่มีชื่อเสียง เช่น คานเย เวสต์, โอเจ ซิมป์สัน, วิล สมิธ ทั้งยังมีใบหน้าของบุคคลที่ล่วงลับไปแล้วออกมาให้เห็น เช่น โคบี ไบรอัน ตำนานวงการบาสเกตบอล NBA อีกด้วย


ส่วนคนที่ทำให้ MV ดังกล่าว ใช้เทคโนโลยีนี้ออกมาในความเป็นจริงได้ คือสตูดิโอ Deep Voodoo ซึ่งก่อตั้งโดยเทรย์ พาร์คเกอร์ และแมตต์ สโตน ผู้สร้างแอนิเมชัน South Park เป็นผู้รับผิดชอบในการสร้างภาพเคลื่อนไหว Deepfake ที่ปรากฏใบหน้าของบุคคลต่าง ๆ ในวิดีโอนั่นเอง 


เคนดริก ลามาร์ แรปเปอร์ชื่อดัง ใช้ Deepfake ดึงใบหน้าเซเลบสหรัฐฯ ร่วมแสดงใน MV

ที่มาของภาพ Aftermath/UMG


ใบหน้าของบุคคลต่าง ๆ ที่ปรากฏใน MV  ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเล่าเรื่องประสบการณ์ของคนผิวดำ พวกเขายังเป็นกระบอกเสียงของคนผิวดำในแง่มุมของการกดขี่ และปัญหาต่าง ๆ ที่ปรากฏควบคู่ไปกับเนื้อเพลง เช่นคานเย เวสต์ ที่ป่วยเป็นโรคไบโพลาร์  เป็นต้น 


ในอีกมุมมองหนึ่ง MV เพลง The heart part 5 ของลามาร์ แรปเปอร์หนุ่ม เป็นเหมือนคำเตือนให้กับผู้คนได้ตระหนักว่าเทคโนโลยี Deepfake สามารถทำอะไรได้บ้าง แล้วมันจะเกิดความเสียหายได้มากแค่ไหน หากถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด เช่นการนำไปเป็นข้อมูลประกอบข่าวปลอม หรือนำไปใช้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง 


โดยก่อนนี้ มีการใช้ Deepfake กับนักการเมืองสหรัฐฯ หลายคน ยกตัวอย่างเช่น มีการใช้ใบหน้าของโดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ มาเล่าถึงวิธีการและความสำคัญของการฟอกเงิน ในรายการล้อเลียน (Parody) ซีรีส์ Breaking Bad ซีรีส์อาชญากรรม-ดรามายอดนิยมของสหรัฐฯ รวมทั้งมีการใช้ใบหน้าของ บารัค โอบามา อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ อีกคน ในการแจ้งเตือนถึงความอันตรายของเทคโนโลยี Deepfake มาแล้วก่อนหน้านี้เช่นกัน เคนดริก ลามาร์ แรปเปอร์ชื่อดัง ใช้ Deepfake ดึงใบหน้าเซเลบสหรัฐฯ ร่วมแสดงใน MV

ที่มาของภาพ Buzzfeed


ที่มาของข้อมูล engadget.com

ที่มาของภาพ Buzzfeed.com Aftermath/UMG



ข่าวแนะนำ