TNN กรีซเปิดตัวโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลแบบ 2 หน้า ขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป

TNN

Tech

กรีซเปิดตัวโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลแบบ 2 หน้า ขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป

กรีซเปิดตัวโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลแบบ 2 หน้า ขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป

โรงไฟฟ้าโซลาร์เซลแบบ 2 หน้า (Bifacial Solar Panel) คือ โรงไฟฟ้าที่มีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลที่สามารถรับแสงได้ 2 ด้าน รับแสงได้มากกว่าโซลาร์เซลปกติทั่วไป มีความคุ้มค่าในการลงทุนระยะยาว

ยุโรปภูมิภาพที่มีการเติบโตของเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้ารวดเร็วมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ล่าสุดประเทศกรีซเปิดตัวโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลแบบ 2 หน้า (Bifacial Solar Panel) ขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป โดยอาศัยจุดเด่นของตำแหน่งที่ตั้งของประเทศกรีซที่มีลักษณะภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนแสงแดดจัดในฤดูร้อน


นายกรัฐมนตรีคิเรียกอส มิตโซตากิส (Kyriakos Mitsotakis) ของประเทศกรีซเดินทางมาทำพิธีเปิดโครงการโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลแบบ 2 หน้า ขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรปแห่งนี้ด้วยตัวเอง โดยมูลค่าของโครงการดังกล่าวสูงถึง 141.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 4,700 ล้านบาท รองรับการผลิตกระแสไฟฟ้า 350 GWh (จิกะวัตต์-ชั่วโมง) รองรับการใช้งานในบ้าน 75,000 หลังต่อปี แผงโซลาร์เซลในโครงการมีจำนวนมากถึง 500,000 แผง โรงไฟฟ้าโซลาร์เซลแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นบริเวณเมืองโคซานี ในภูมิภาคมาซิโดเนียตะวันตกของประเทศกรีซ


เทคโนโลยีโรงงานไฟฟ้าโซลาร์เซลแบบ 2 หน้า (Bifacial Solar Panel) ถูกดำเนินการพัฒนาโดยบริษัท Juwi บริษัทในเครือ Juwi Hellas ประเทศเยอรมนี ผู้นำด้านเทคโนโลยีโซลาร์เซลในทวีปยุโรป


สำหรับโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลแบบ 2 หน้า (Bifacial Solar Panel) คือ โรงไฟฟ้าที่มีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลที่สามารถรับแสงได้ 2 ด้าน แผงด้านหน้าจะรับแสงอาทิตย์โดยตรงส่วนด้านหลังจะรับแสงที่สะท้อนกลับมาทางด้านหลัง ด้วยวิธีการรับแสงดังกล่าวสามารถโซลาร์เซลแบบนี้รับแสงได้มากกว่าโซลาร์เซลปกติทั่วไป มีความคุ้มค่าในการลงทุนระยะยาว


สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรประบุว่าประเทศกรีซสามารถบรรลุเป้าหมายในปี 2020 ที่ผ่านมา โดยใช้พลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนมีสัดส่วน 21.7% ของพลังงานไฟฟ้าทั้งประเทศ นอกจากนี้ประเทศกรีซยังตั้งเป้าใช้พลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนทั้งในรูปแบบพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมจากทะเลคิดเป็นสัดส่วน 35% ภายในปี 2030 สอดคล้องกับประเทศอื่น ๆ ในสหภาพยุโรปที่กำลังเดินไปยังหนทางเดียวกันเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศของโลก




ที่มาของข้อมูล electrek.co

ที่มาของรูปภาพ juwi.com 

ข่าวแนะนำ