House Zero บ้านมหัศจรรย์พิมพ์แค่ 8 วันก็พร้อมเข้าอยู่
มิติใหม่ของบ้านพร้อมอยู่ วันนี้จะพาไปดูบ้านที่ใช้การพิมพ์ 3 มิติ ลดระยะเวลาและต้นทุนในการก่อสร้าง ใช้เวลาพิมพ์เสร็จทั้งหลังพร้อมเข้าอยู่ภายในเวลาแค่ 8 วันเท่านั้น งานนี้เรียกได้ว่าสองมือล้วงกระเป๋า สองเท้าก้าวเข้าบ้านได้เลย
เห็นบ้านสวย ๆ แบบนี้ใครจะเชื่อว่าใช้เวลาสร้างเสร็จภายใน 8 วันเท่านั้น และที่สำคัญยังเป็นบ้านที่ใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติเข้ามาช่วยสร้างส่วนประกอบต่าง ๆ เกือบทั้งหลัง นับว่าเป็นต้นแบบของบ้านสมัยใหม่ ที่นอกจากจะลดการปล่อยมลพิษในการก่อสร้าง ยังช่วยลดระยะเวลา และลดต้นทุนไปได้มากเลยทีเดียว
สำหรับบ้านหลังนี้ มีชื่อว่า “House Zero” เป็นบ้านต้นแบบที่ตั้งอยู่ที่เมืองออสติน รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา บ้านหลังนี้เป็นบ้านชั้นเดียว มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 2,000 ตารางฟุต แบ่งเป็น 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ และห้องนอนเสริมขนาด 350 ตารางฟุต ซึ่งจุดเด่นของบ้านหลังนี้ ก็คือเทคโนโลยีที่ใช้ในการก่อสร้าง
โดยเป็นการพิมพ์ผนังและโครงสร้างสำคัญด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติขนาดใหญ่สำหรับงานก่อสร้างโดยเฉพาะ ชื่อว่า วัลแคน (Vulcan) เครื่องพิมพ์รุ่นนี้มีความกว้าง 14 เมตร สูง 4 เมตรสามารถพิมพ์โครงสร้างได้ถึงมากถึง 3,000 ตารางฟุต โดยมันจะค่อย ๆ พิมพ์ผนังออกมาทีละเลเยอร์ ด้วยวัสดุคอนกรีตผสมชนิดพิเศษที่เรียกว่า “ลาวาเครต” (Lavacrete) และเหล็กเสริมแรงเข้ามาช่วย ผลลัพธ์ที่ได้ จึงทำให้ได้โครงสร้างของบ้านที่แข็งแรง ในขณะเดียวกันก็สามารถขึ้นรูปได้อย่างรวดเร็ว ช่วยชะลอการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่บ้านได้
ผลงานชิ้นนี้เป็นการรออกแบบร่วมกันระหว่างบริษัท ICON ผู้นำด้านเทคโนโลยีการก่อสร้างโดยใช้การพิมพ์ 3 มิติขนาดใหญ่ ร่วมกับบริษัทนักออกแบบ Lake|Flato โดยพวกเขาต้องการที่จะสร้างบ้านแบบใหม่ที่จะเป็นการเปลี่ยนการสร้างบ้านแบบเดิม ๆ จึงออกมาเป็นบ้านที่เน้นการผสมผสานระหว่างความสวยงามของบ้านสมัยใหม่ ร่วมกับการออกแบบที่ประหยัดพลังงาน เพื่อการใช้งานที่ยืดหยุ่นและยั่งยืนมากขึ้น
และยังเป็นการขยายขอบเขตของสถาปัตยกรรมและเทคโนโลยีการใช้หุ่นยนต์ในการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ซึ่งคาดว่าอาจจะเป็นเทรนด์ใหม่ที่ได้รับความนิยมของงานก่อสร้างในอีกไม่ใกล้ไม่ไกล เนื่องจากทำให้ได้บ้านที่มีต้นทุนถูกลง ใช้เวลาก่อสร้างเร็วขึ้น และยังลดการใช้กำลังคนไปได้มากอีกด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก
ข่าวแนะนำ
-
จีนทดลองวิ่งรถบรรทุกไร้คนขับ
- 08:11 น.
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67