TNN เตือน! เช็กก่อนซื้อ "เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว" พบขายเกลื่อนทั้งราคาถูก-แพง

TNN

Social Talk

เตือน! เช็กก่อนซื้อ "เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว" พบขายเกลื่อนทั้งราคาถูก-แพง

เตือน! เช็กก่อนซื้อ เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว พบขายเกลื่อนทั้งราคาถูก-แพง

อาจารย์จุฬาฯ เตือน ซื้อเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว หรือ oxygen meter ต้องดูให้ดี หลังพบในท้องตลาดมีขายหลากหลายราคา วัดได้แม้กระทั่งปลาดุก ไส้กรอก

วันนี้ (11 ส.ค.64) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ภาพพร้อมข้อความเตือนเกี่ยวกับ เครื่องวัดปริมาณออกซิเจนจากเส้นเลือดที่ปลายนิ้ว หรือ oxygen meter โดยระบุว่า มีเรื่องขำๆ แต่ซีเรียส มาแชร์ให้ดูกัน หลังจากหลายคนซื้อเครื่องวัดปริมาณออกซิเจนจากเส้นเลือดที่ปลายนิ้ว หรือ oxygen meter โดยไปซื้อของถูกๆตามออนไลน์ตัวละ 100 กว่าบาทมาใช้ ซึ่งไม่ควรซื้อเด็ดขาด เพราะเป็นของที่วัดค่าออกมาไม่ได้แม่นอะไร พร้อมยกตัวอย่าง เมื่อลองวัดกับไส้กรอก กับปลาเผา สามารถวัดค่าออกซิเจน ค่าชีพจรได้ แต่พอใช้กับเครื่องวัดที่มีราคาแพง จะเห็นว่าไม่มีค่าใดๆ แสดงขึ้นมา

เตือน! เช็กก่อนซื้อ เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว พบขายเกลื่อนทั้งราคาถูก-แพง

รศ.ดร.เจษฎา ยังยกตัวอย่าง ข่าวเมื่อราว 2 เดือนที่แล้ว ที่มีศพผู้เสียชีวิต แล้วญาติเอาเครื่องวัดออกซิเจนมาหนีบที่ปลายนิ้วศพ แล้วค่าตัวเลขขึ้นมา ทำให้เข้าใจผิด นึกว่ายังไม่เสียชีวิต ซึ่งจริงๆ ก็เพราะว่าใช้เครื่องที่มันไม่แม่นเท่านั้นเอง ดังนั้น หากจะเลือกซื้อพวกนี้มาใช้เอง ก็ควรจะเลือกให้ถูกต้อง เลือกยี่ห้อที่เป็นที่นิยมใช้ในระดับโรงพยาบาลหรือคลินิกขึ้นไป โดยส่วนใหญ่ราคาก็อยู่ประมาณพันกว่าบาท 

หรือดูบัญชีรายชื่อที่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เผยแพร่ไว้ ซึ่งปัจจุบัน มีที่ได้รับการอนุญาตให้ผลิตหรือนำเข้าโดยเช็กที่นี่

เตือน! เช็กก่อนซื้อ เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว พบขายเกลื่อนทั้งราคาถูก-แพง

ทั้งนี้ "เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว" เป็นเครื่องมือที่สามารถวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดและวัดชีพจรปลายนิ้วได้ด้วยตัวเอง  แค่นั่งนิ่ง ๆ อยู่ที่บ้านก็สามารถสามารถทราบผลได้แล้ว 

แต่ในปัจจุบันนั้นมีหลากหลายแบรนด์ให้เลือกเต็มไปหมด ดังนั้นควรเลือกซื้อเครื่องวัดออกซิเจนที่มีมาตรฐาน มีความแม่นยำสูง วัสดุในการผลิตแข็งแรงทนทาน มีความปลอดภัย และที่สำคัญ การแสดงผลผลลัพธ์ที่ไม่คลาดเคลื่อน

สำหรับวิธีใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ก่อนที่จะใช้งานได้นั้นเตรียมใส่ถ่านหรือแบตเตอรี่ให้พร้อมเพื่อการใช้งานที่เต็มประสิทธิภาพ เมื่อเตรียมเครื่องพร้อมแล้ว นำเครื่องวัดหนีบที่ปลายนิ้วขวาหรือซ้ายตามถนัด และเช็คว่ามีความแน่นพอดีแล้วหรือไม่

ระหว่างที่จะเริ่มทำการวัดนั้น ให้ผู้ใช้นั่งนิ่ง ๆ สักพักเพื่อให้เครื่องวัดได้แม่นยำมากที่สุด หลังจากวัดค่าเสร็จแล้ว ก็จะมีหน้าจอแสดงผลระดับออกซิเจนของเราขึ้นมา 

ก่อนใช้ผู้ใช้ไม่ควรทาเล็บ และต้องทำความเข้าใจคู่มือก่อนทำการใช้งานด้วย เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของผู้ใช้และอุปกรณ์ แค่นี้เราก็สามารถรู้ผลได้แบบไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาลแล้ว

เตือน! เช็กก่อนซื้อ เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว พบขายเกลื่อนทั้งราคาถูก-แพง

คำเตือน สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เครื่องมือนี้ด้วย

ส่วนวิธีการแปลค่าเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วนั้น องค์กรอนามัยโลก หรือ WHO ได้ระบุไว้ว่า หากเครื่องวัดค่าออกมาได้ที่ระดับ 95-100% ถือว่าอยู่ในระดับที่ไม่มีความเสี่ยง แต่สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวควรทำการปรึกษากับแพทย์ประจำตัวก่อนว่าค่าที่ได้ควรอยู่ในระดับใดถึงจะปลอดภัย และการที่ค่าออกมาต่ำกว่าที่ระบุก็มีสาเหตุมาจากหลายสาเหตุด้วยเช่นกัน ผู้ใช้ควรมีการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน เพื่อจะได้ป้องกันและแก้ไขได้

ปัจจัยในการเลือกซื้อเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว

่- วัดค่าได้ตรงตามมาตรฐาน คลาดเคลื่อนได้น้อยที่สุด

- ผลิตจากวัสดุคุณภาพสูง ใช้งานในระยะยาว 

- มีความปลอดภัยกับผู้ใช้

- ความรวดเร็วในการวัด

- ฟังก์ชั่นครบตรงตามความต้องการ

- ใช้งานง่าย แสดงผลชัดเจน

เตือน! เช็กก่อนซื้อ เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว พบขายเกลื่อนทั้งราคาถูก-แพง

นอกจากนี้ รศ.ดร.เจษฎา ได้เปิดรายชื่อ 10 เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วที่แนะนำ ดังนี้

- Yuwell รุ่น YX302

- Rossmax รุ่น Bluetooth SB210

- ChoiceMMed รุ่น CM-MD300C1

- Aolon

- Beurer รุ่น PO30

- Beurer รุ่น PO60

- Bluedot รุ่น B-PO50D

- Jumper รุ่น JPD-500E

- Colego รุ่น Model-yk81-A

- FZK รุ่น 6610 

ข้อมูลจาก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์