TNN ความคล้ายทำพิษ เข้าใจผิดกิน "ปลาลัง" นึกว่าได้กิน "ปลาทู"

TNN

Social Talk

ความคล้ายทำพิษ เข้าใจผิดกิน "ปลาลัง" นึกว่าได้กิน "ปลาทู"

ความคล้ายทำพิษ เข้าใจผิดกิน ปลาลัง นึกว่าได้กิน ปลาทู

สมาคมการประมงสมุทรสาครแชร์ความรู้ สร้างความเข้าใจ "ปลาทู" กับ "ปลาลัง" หวั่นกลัวคนซื้อผิดเพราะลักษณะคล้ายกัน

หนึ่งในอาหารประเภทปลายอดนิยมสำหรับคนไทยคงหนีไม่พ้น ปลาทู ไม่ว่าจะเอาไปทำเมนูอะไรก็อร่อยไปเสียหมด  แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าปลาทูที่เรารับประทาน ที่เราซื้อมานั้น เป็นของแท้หรือของปลอม หลายคนคงเริ่มสงสัยขึ้นมาแล้วว่าเดี๋ยวนี้บ้านเรามีปลาทูปลอมขายกันด้วยหรือ แล้วกินได้หรือไม่

 

แท้จริงแล้วมันไม่ใช้ปลาปลอมที่ผลิตจากสารแปลกปลอมแต่อย่างไร แต่คือปลาตัวเป็น ที่มีลักษณะคล้ายปลาทูต่างหาก สามารถทานได้  แต่ว่าความอร่อยนั้นคนละเรื่องกันเลยทีเดียว ปลาชนิดนี้เรียกว่า ปลาลัง


ล่าสุดเมื่อวันที่ 31 .. 62 ทางเพจเฟสบุ๊ก สมาคมการประมงสมุทรสาคร ได้มีการออกมาโพสต์สอนการแยกลักษณะระหว่าง ปลาทู และ ปลาลัง 

ความคล้ายทำพิษ เข้าใจผิดกิน ปลาลัง นึกว่าได้กิน ปลาทู

ทางเว็บไซค์ของสำนักงานประมงจังหวัดสมุทรปราการ ก็ได้มีการออกมาให้ความรู้เรื่องในเรื่องนี้เช่นกัน ว่า เนื่องจากปลาทูมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับปลาอีกหลายๆ ชนิด โอกาสซื้อผิดมีมาก จึงขอแนะนำเพื่อเป็นข้อสังเกตดังนี้

 

    1. ปลาทู มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Rastrlliger neglectus หรือ ปลาทูสั้น ปลาทูเตี้ย แล้วแต่บางพื้นที่ เพราะลักษณะของลำตัวกว้าง แบน ป้อม สั้น ตาเล็ก ปากแหลมมน ไม่มีลายข้างตัว 3 เส้น ด้านบนของลำตัวมีสีน้ำเงินแกมเขียว ถ้าเป็นปลาสดจะมีสีน้ำเงินเข้มพาดตามยาวของลำตัว เนื้อปลาทูจะละเอียด นุ่ม มีมันมาก รสอร่อย 

 

    2. ปลาลังมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Rastrelliger Kanagurta หรือ ปลายาว ปลาทูโม่ง หรือปลาโม่ง เพราะลำตัวกลม เรียวกว่าปลาทู ตาโต ปากแหลม ลำตัวด้านหลังมีแถบสีเขียวแกมน้ำตาล 2-3 แถบพาดตามยาว เนื้อหยาบ มันน้อย รสไม่อร่อย ราคาถูกกว่าปลาทู


ของคุณภาพจาก 

เพจเฟสบุ๊ก สมาคมการประมงจังหวัดสมุทรสาคร


ข่าวที่เกี่ยวข้อง - - - เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com 
facebook : TNNThailand
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNThailand
Youtube Official : TNNThailand