TNN หาเจอแล้ว! ที่มา ‘หลวงพ่อกลั้นขำ’ ชาวเน็ตจีน - เวียดนามแห่แซวแชร์จนเป็นไวรัล

TNN

Social Talk

หาเจอแล้ว! ที่มา ‘หลวงพ่อกลั้นขำ’ ชาวเน็ตจีน - เวียดนามแห่แซวแชร์จนเป็นไวรัล

หาเจอแล้ว! ที่มา ‘หลวงพ่อกลั้นขำ’ ชาวเน็ตจีน - เวียดนามแห่แซวแชร์จนเป็นไวรัล

หาเจอแล้วที่มา ‘หลวงพ่อกลั้นขำ’ เกิดกระแสในโซเชียลชาวเน็ตจีน - เวียดนามแห่แซว แชร์จนกลายเป็นไวรัล

เป็นกระแสที่ถูกพูดถึงในโลกโซเชียล หลังมีการแชร์ภาพ พระพุทธรูปปางไสยยาสน์ หรือ พระนอน แต่พระนอนดังกล่าว มีลักษณะคล้ายใบหน้าคนกลั้นขำ มีลักษณะรูปทรงที่แปลก กว่าพระพุทธรูปโดยทั่วไป สร้างความฮือฮา ขำขันในโลกโซเชียลเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในเพจข่าว “World Forum ข่าวสารต่างประเทศ” และ “ASEAN All Post ” มีผู้เข้าไปแสดงความคิดเห็นเป็นอย่างมากพร้อมทั้งสืบค้นว่าพระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์ใหญ่นี้ ประดิษฐานอยู่ที่ใด ซึ่งต่อมาผู้สื่อข่าวพบว่าหลวงพ่อพระนอนองค์นี้ ประดิษฐานอยู่ภายในศาลาวัดบ่อสามเเสน ต.หนองปลิง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร  มีชื่อว่า ‘หลวงพ่อพระนอน’

หาเจอแล้ว! ที่มา ‘หลวงพ่อกลั้นขำ’ ชาวเน็ตจีน - เวียดนามแห่แซวแชร์จนเป็นไวรัล


หาเจอแล้ว! ที่มา ‘หลวงพ่อกลั้นขำ’ ชาวเน็ตจีน - เวียดนามแห่แซวแชร์จนเป็นไวรัล


ทั้งนี้พระปรางไสยาสน์ องค์ดังกล่าวถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2513 โดยหลวงพ่อพล กุสโล พร้อมกับชาวบ้านร่วมด้วยช่วยกัน แต่การก่อสร้างในครั้งนี้หลวงพ่อพลไม่มีแบบในการก่อสร้างอาศัยประสบการณ์ของหลวงพ่อซึ่งช่วยในการก่อสร้างมาหลายวัดหลายจังหวัด หลวงพ่อพระนอนจึงออกมาเป็นแบบศิลป์ร่วมสมัย มารวมกันในการก่อสร้างจึงไม่ทราบว่าเป็นศิลปกรรมในสมัยใด ซึ่งการก่อสร้างนั้นจะทำมาจากหินศิลาแลง แต่ต่อมาได้เปลี่ยนเจ้าอาวาสวัดได้นำเอาปูนมาโบกทับทำเป็นพระพุทธรูปเช่นเดิมและนำเอาสีขาวมาทาตกแต่ง จนเป็นที่มาของภาพที่ปรากฏอยู่ในโซเชียลเพจดัง หลายเพจจนเป็นที่ฮือฮาทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

หาเจอแล้ว! ที่มา ‘หลวงพ่อกลั้นขำ’ ชาวเน็ตจีน - เวียดนามแห่แซวแชร์จนเป็นไวรัล

สำหรับหลวงพ่อพระนอนเป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ กล่าวว่าเป็นศิลปะร่วมสมัยลักษณะบรรทม(นอน) ตะแคงเบื้องขวา ลืมพระเนตรเพื่อโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายพระพาหา(แขน) ด้านขวาวางอยู่บนพระเขนย(หมอน) พระหัตถ์ขวาหนุนพระเศียร พระหัตถ์ซ้ายทอดทาบไปตามพระวรกาย พระบาทซ้ายทับซ้อนพระบาทขวาหลวงพ่อพระนอนมีความยาว 17.59 เมตร กว้าง 3 เมตร และเมื่อปี 2550 จากนั้นเป็นต้นมาได้มีการบูรณะสืบต่อกันมาจากนั้นได้ทำการลงลักษณ์ปิดทองทั่วทั้งองค์ เหลืองอร่ามงามตาเป็นยิ่งนัก 


จากการสอบถามกรณีใบหน้าพระมีลักษณะ ‘กลั้นยิ้ม’ ไม่มีผู้ใดให้คำตอบได้ว่าผู้สร้างนั้นมีเจตนาอย่างไร ทราบว่าเป็นการออกแบบตามจินตนาการของผู้สร้างก็คือหลวงพ่อพล กุสโล ที่ได้ร่วมมือกับชาวบ้านในพื้นก่อสร้างนั่นเอง อย่างไรก็ตามยังมีหลวงพ่อพระนอนองค์จำลอง ซึ่งจำลองจากองค์หลวงพ่อพระนอนองค์ใหญ่ ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าของ หลวงพ่อพระนอนองค์ใหญ่เพื่อเอาไว้ให้บรรดาพุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชาสามารถปิดทองบูชาได้นั่นเอง 


ข้อมูลจาก: ผู้สื่อข่าวภูมิภาคจังหวัดกำแพงเพชร 

ภาพจากผู้สื่อข่าวภูมิภาคจังหวัดกำแพงเพชร