เปิดหลักเกณฑ์ขออนุญาต-ผลิต-นําเข้า-ส่งออก-จําหน่าย-ครอบครองกัญชา มีผลวันนี้ (27พ.ย.)
ราชกิจจานุเบกษา หลักเกณฑ์การขออนุญาตผลิต นําเข้า ส่งออก จําหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะกัญชา มีผล 27 ธ.ค.64 เป็นต้นไป
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่กฎกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นําเข้า ส่งออก จําหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะกัญชา พ.ศ. ๒๕๖๔
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๒ วรรคสอง มาตรา ๒๓ วรรคสาม และมาตรา ๓๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ และมาตรา ๒๖/๒ วรรคสาม มาตรา ๒๖/๓ วรรคสาม มาตรา ๒๖/๕ (๗) มาตรา ๓๔/๑ (๑) (๒) และ (๖) มาตรา ๓๔/๒ (๑) และ (๖) และมาตรา ๓๔/๓ (๔) แห่งพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้ “ กัญชา” หมายความว่า พืชในสกุล Cannabis ตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด ตามมาตรา ๔ (๑) ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกัญชง (Hemp) “ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์” หมายความว่า ห้องปฏิบัติการที่คณะกรรมการกําหนด
“หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐ
ข้อ ๒ ผู้ซึ่งจะขออนุญาตตามกฎกระทรวงนี้ ต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีผู้ขออนุญาตเป็นบุคคลธรรมดา
(ก) มีสัญชาติไทย (ข) มีอายุไม่ต่ํากว่ายี่สิบปี (ค) มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย (ง) ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (จ) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
(ฉ) ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างการถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตที่ออกตามกฎหมายว่าด้วย ยาเสพติดให้โทษหรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
(ช) ไม่เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ กฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท กฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย หรือ กฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
(๒) กรณีผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคลต้อง
(ก) จดทะเบียนตามกฎหมายไทย (ข) มีลักษณะตาม (๑) (ฉ) และ (ช) (ค) ผู้แทนของนิติบุคคลหรือผู้มีอํานาจทําการแทนนิติบุคคลมีลักษณะตาม (๑) (ง) กรรมการของนิติบุคคล หุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นอย่างน้อยสองในสามเป็นผู้มีสัญชาติไทย
(จ) มีสํานักงานตั้งอยู่ในประเทศไทย
(๓) กรณีผู้ขออนุญาตเป็นวิสาหกิจชุมชนที่ไม่เป็นนิติบุคคล ผู้ได้รับมอบหมายให้ดําเนิน กิจการแทนต้องมีลักษณะตาม (๑) ด้วย
(๔) กรณีผู้ขออนุญาตเป็นหน่วยงานของรัฐ ต้องมีวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต นําเข้า ส่งออก จําหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งกัญชาตามภารกิจของหน่วยงานของรัฐตามที่กําหนด ไว้ในกฎกระทรวงนี้
หมวด ๑ การขออนุญาตผลิตกัญชาโดยการปลูก
ข้อ ๓ ผู้ขออนุญาตผลิตกัญชาโดยการปลูก เพื่อใช้ทางการแพทย์ ต้องเป็น
(๑) หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัยหรือจัดการเรียนการสอน ด้านการแพทย์ เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือเกษตรศาสตร์
(๒) หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ในการให้บริการทางการแพทย์ เภสัชกรรม หรือวิทยาศาสตร์
(๓) หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ในการให้บริการทางเกษตรกรรม เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรือเภสัชกรรม
(๔) สภากาชาดไทย
(๕) ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ซึ่งดําเนินการภายใต้ความร่วมมือและกํากับดูแลของผู้ขออนุญาต ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) หรือสถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่จัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์หรือเภสัชศาสตร์
(๒) ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมตามกฎหมายว่าด้วย การส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม ซึ่งดําเนินการภายใต้ความร่วมมือและกํากับดูแลของผู้ขออนุญาต