รู้หรือไม่ กองทุนเงินทดแทนประกันสังคมคืออะไร
กองทุนเงินทดแทน คือ กองทุนที่จ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างแทนนายจ้างเมื่อลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วย ถึงแก่ความตาย หรือสูญหายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างโดยดูจากสาเหตุที่ทำให้ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
กองทุนเงินทดแทน คือ กองทุนที่จ่ายเงินเข้า สำนักงานประกันสังคม ทดแทนให้แก่ลูกจ้างแทนนายจ้างเมื่อลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วย ถึงแก่ความตาย หรือสูญหายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างโดยไม่คำนึงถึงวัน เวลา และสถานที่ แต่จะดูจากสาเหตุที่ทำให้ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม
เงินสมทบ คืออะไร
เงินสมทบ คือ เงินที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุนเงินทดแทนเพียงฝ่ายเดียว โดยจะเรียกเก็บจาการจ้างเป็นรายปี ซึ่งประเมินจำนวนเงินที่นายจ้างให้แก่ลูกจ้างทั้งปีรวมกันคนละไม่เกิน 240,000 บาทต่อปี คูณกับอัตราเงินสมทบของประเภทกิจการระหว่างอัตรา 0.2-1.0% โดยนายจ้างแต่ละประเภทจะจ่ายในอัตราเงินสมทบหลักที่ไม่เท่ากัน โดยขึ้นอยู่กับความเสี่ยงภัยของกิจการนายจ้าง
ลูกจ้างมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากกองทุนเงินทดแทนเมื่อใด
สิทธิที่ลูกจ้างจะได้รับจากกองทุนเงินทดแทนจะเกิดขึ้นทันทีนับตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงานให้นายจ้าง
ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม
การประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน คืออะไร
การที่ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กายหรือผลกระทบแก่จิตใจหรือถึงแก่ความตาย เนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้นายจ้าง หรือทำตามคำสั่งของนายจ้าง
การเจ็บป่วยด้วยโรคเนื่องจากการทำงาน คืออะไร
สาเหตุของการเจ็บป่วยเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานซึ่งสำนักงานประกันสังคมประสานความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขจัดตั้งคลินิกโรคจากการทำงาน โดยมีแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ เป็นผู้ตรวจวินิจฉัยโรค หากลูกจ้างสงสัยโปรดติดต่อได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/ จังหวัด/สาขาทุกแห่ง
สูญหาย คืออะไร
การที่ลูกจ้างหายไปในระหว่างการทำงานหรือปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้างซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อว่า ลูกจ้างถึงแก่ความตายเพราะประสบเหตุอันตรายที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานหรือปฏิบัติตามคำสั่งของ นายจ้างนั้น รวมตลอดถึงการที่ลูกจ้างหายไปในระหว่างเดินทางโดยพาหนะทางบก อากาศ หรือทางน้ำ เพื่อไปทำงานให้นายจ้าง ซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อว่าพาหนะนั้นได้ประสบเหตุอันตรายและลูกจ้างถึงแก่ความตาย ทั้งนี้ เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 180 วัน นับแต่วันที่เกิดเหตุ
สิทธิประโยชน์ของลูกจ้างในกองทุนเงินทดแทนมีอะไรบ้าง
เมื่อนายจ้างขึ้นทะเบียนกองทุนเงินทดแทนแล้ว ลูกจ้างทุกคนที่ทำงานให้กับนายจ้างจะได้รับการคุ้มครองจากกองทุนเงินทดแทนทันที เมื่อประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือถึงแก่ความตาย หรือสูญหาย เนื่องจาการทำงานให้นายจ้าง ลูกจ้างจะได้รับค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนรายเดือน (กรณีหยุดงาน,กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือสมรรถภาพของอวัยวะกรณีทุพพลภาพ และกรณีตาย) โดยค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานและค่าทำศพ มีดังนี้
ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม
1. กรณีเจ็บป่วย
- ได้รับค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 35,000 บาท ต่อการเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย 1 ครั้ง หากเกินเบิกเพิ่มได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงอีกไม่เกิน 200,000 บาท
- ได้รับค่าทดแทนรายเดือนในอัตรา 60 % ของค่าจ้าง หากแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวติดต่อกันเกิน 3 วัน แต่ไม่เกิน 1 ปี
2. กรณีสูญเสียอวัยวะ
- ได้รับค่าทดแทนรายเดือนในอัตรา 60 % ของค่าจ้าง ตามประเภทการสูญเสียอวัยวะ และระยะเวลาที่กำหนด
กรณีที่ลูกจ้างจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูจะได้รับการฟื้นฟูที่ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน ของสำนักงานประกันสังคม ดังนี้
- ได้รับค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูด้านการแพทย์ และอาชีพเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 20,000 บาท
- ได้รับค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานไม่เกิน 20,000 บาท
3. กรณีทุพพลภาพ
- ได้รับค่าทดแทนรายเดือนในอัตรา 60 % ของค่าจ้าง เป็นเวลาไม่เกิน 15 ปี
4. กรณีตายหรือสูญหาย
- ได้รับค่าทำศพจ่ายให้แก่ผู้จัดการศพ 100 เท่าของอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน (ปัจจุบันจ่าย 18,100 บาท)
- ได้รับค่าทดแทนรายเดือนในอัตรา 60 % ของค่าจ้าง เป็นเวลา 8 ปี แก่ทายาท
ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม
การยื่นขอเงินทดแทน ทำได้อย่างไร
ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนจะต้องยื่นคำร้องขอเงินทดแทนภายใน 180 วันนับตั้งแต่วันที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย
ทั้งนี้ ลูกจ้างสามารถเช็กข้อมูลกองทุนประกันสังคม เพื่อรักษาสิทธิในการเป็นผู้ประกันตนได้ที่ >> รู้หรือไม่ กองทุนประกันสังคมคืออะไร
ที่มาข้อมูล : สำนักงานประกันสังคม https://www.sso.go.th/
ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม