หมดสิทธิ์ขับรถ เล็งเพิ่มโรค "เบาหวาน-ความดัน-ลมชัก" ห้ามทำใบขับขี่
กรมขนส่งทางบกถกแพทยสภากำลังพิจารณาเพิ่มโรคต้องห้ามหมดสิทธิ์ขับรถ “เบาหวาน-ความดัน-ลมชัก-อารมณ์2ขั้ว” เริ่มก.พ.ปีหน้า
วันนี้ (28ต.ค.63) นาย ยงยุทธ นาคแดง รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยกรณีเว็บไชต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกฎกระทรวงคมนาคมเรื่องการขอและการออกใบอนุญาตขับรถ และการต่ออายุใบอนุญาตขับรถ พ.ศ. 2563 ซึ่งจะมีผลใช้บังคับภายใน 120 วัน หรือภายในประมาณวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564 ว่า กฎกระทรวงนี้มีหลักสำคัญ 2 ข้อ คือ การออกใบรับรองแพทย์ประกอบการขอรับใบอนุญาตขับรถหรือขอใบขับขี่
กรมการขนส่งทางบก กำลังหารือแพทยสภาเพื่อจัดทำรายละเอียดให้สอดรับกับกฎกระทรวง เพื่อกำหนดให้ใบรับรองแพทย์ต้องแสดงว่าไม่มีโรคประจำตัว หรือสภาวะของโรคที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เห็นว่าอาจเป็นอันตรายขณะขับรถหรือมีอาการผิดปกติทางจิต หรือมีโรคที่ไม่เหมาะสมกับการขับรถ
เดิมกรมการขนส่งทางบก กำหนด 5 โรคต้องห้ามได้แก่ 1.โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่น่ารังเกียจแก่สังคม 2.โรควัณโรคในระยะแพร่กระจายเชื้อ 3.โรคเรื้อน 4.โรคพิษสุราเรื้อรัง และ 5.โรคติดยาเสพติดให้โทษ
กำลังพิจารณาเพิ่มโรคต้องห้าม อาทิ โรคลมชัก โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคอารมณ์สองขั้ว ออทิสติก หรือตัวเตี้ยผิดปกติ 90 เซนติเมตร ซึ่งแพทย์ที่ต้องออกใบรับรองแพทย์ต้องเป็นผู้ประเมินสภาพทางด้านร่างกายของผู้ขอใบรับรองแพทย์
นายยงยุทธ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ แพทย์ต้องเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน เพื่อตรวจสอบผู้ขอรับใบรับรองแพทย์ว่า มีโรคประจำตัวหรือเคยเป็นโรคที่เป็นอันตรายต่อการขับรถหรือไม่ เพราะบางครั้งผู้มาขอใบรับรองแพทย์อาศัยอยู่หลากหลายแห่ง ทำให้ยากต่อการตรวจสอบเพื่อทำให้การออกใบรับรองแพทย์มีความสมบูรณ์มากที่สุด ไม่เป็นอันตรายขณะขับรถเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน
ทั้งนี้ คาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้ ให้ทันภายใน 120 วัน ซึ่งกรณีขอใบรับรองแพทย์นี้จะใช้กับรถทุกประเภทที่มารับใบขับขี่ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์รถจักรยานยนต์ และ รถโดยสารสาธารณะ ขณะเดียวกันอาจให้นำใบรับรองแพทย์ที่แสดงว่าเหมาะสมกับการขับรถอย่างปลอดภัยมาแสดงเพิ่มเติม
เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ขอรับใบขับขี่จำนวนหนึ่ง ที่นายทะเบียนพบว่าไม่สมควรจะได้รับใบขับขี่หรือควรต้องทดสอบขับรถใหม่ จึงควรมีฐานอำนาจกฎหมายให้สามารถตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมในการได้รับใบขับขี่อีกครั้ง
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่จะประเมินความพร้อมด้านร่างกายของผู้ขอต่อใบขับขี่ถ้าสังเกตหรือประเมินแล้วพบว่ามีสภาวะด้านร่างกายไม่พร้อมมีความเสี่ยงต่ออันตรายในการขับรถจะนำบุคคลนั้นไปทดสอบการขับรถเพิ่มเติมจากเดิมการขอต่อใบขับขี่ต้องทดสอบสมรรถทางด้านร่างกายเช่น ตาบอดสี และ เข้าอบรมการขับรถจะต่อใบขับขี่ได้ทันที
นายยงยุทธ กล่าวด้วยว่า เรื่องการคุมเข้มผู้ประสงค์ขับรถจักรยานยนต์ ที่มีกำลังสูงหรือบิ๊กไบค์ เพื่อออกใบขับขี่รถจักรยานยนต์ ขนาดใหญ่ที่มีกำลังสูงเครื่องยนต์ 400 ซีซีขึ้นไป โดยเฉพาะ
เกาะติดข่าวที่นี่
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE