TNN เปิดใจผอ.รพ.รามาฯ หลัง “หน้ากากอนามัย” เหลือใช้ 1 สัปดาห์

TNN

สังคม

เปิดใจผอ.รพ.รามาฯ หลัง “หน้ากากอนามัย” เหลือใช้ 1 สัปดาห์

เปิดใจผอ.รพ.รามาฯ หลัง “หน้ากากอนามัย” เหลือใช้ 1 สัปดาห์

เปิดใจผอ.รพ.รามาฯ หลังเกิดปัญหา ขาดแคลน “หน้ากากอนามัยทางการแพทย์” เหลือใช้ 1 สัปดาห์

รองศาสตราจารย์ สุรศักดิ์ ลีลาอุดุมลิปิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผยว่า แต่เดิมหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ไม่ได้แพงมาก แต่พอเกิดภาวะโรคระบาด มีปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัยฯ โดยมองว่ามีด้วยกันหลายปัจจัย คือ 1. ทางด้าน ซัพพลาย ประเทศที่เป็นแหล่งผลิตมีปัญหาเสียเอง เนื่องจากเกิดโรคระบาด 2. เรายังมีการนำเข้าวัสดุในการผลิต จากต่างประเทศ (ซึ่งประเทศที่นำเข้าวัตถุดิบก็มีปัญหาการระบาดเช่นเดียวกัน) 3. โรงงานผลิตหน้ากากทางการแพทย์ของไทยไม่ได้มีมากพอ ในภาวะเกิดโรคระบาด


ความต้องการใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์


ความต้องการหน้ากากอนามัยในโรงพยาบาลยังมีอย่างต่อเนื่อง คนไข้เก่าที่ยังดำเนินการรักษา เช่นคนไข้ไอซียู คนไข้ในห้องผ่าตัด คนไข้มาส่องกล้อง หรือคนไข้โรคทางเดินหายใจอะไรก็ยังคงมีความต้องการในการใช้เหมือนเดิม แต่มีความต้องการ อันใหม่เพิ่มขึ้นมา คือ คนไข้กลุ่มเสี่ยง ที่เข้ารักษามากขึ้น เจ้าหน้าที่บุคลากรทางการแพทย์ที่อยู่ในฝ่ายคัดกรองผู้ป่วย หรือดูแลโรคที่ต้องสงสัย ที่ต้องมีการป้องกันไว้ก่อนในการใส่หน้ากากอนามัย ก็เลยทำให้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์มีความต้องการเพิ่มขึ้นในแต่ละโรงพยาบาล อย่างของ โรงพยาบาลรามาฯ เพิ่มขึ้นประมาณ1เท่า 


"สถานการณ์ปกติ โรงพยาบาลรามาธิบดี ใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ 30,000-40,000ชิ้น ต่อสัปดาห์ แต่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ความต้องการใช้เพิ่มขึ้น อยู่ที่สัปดาห์ละ50,000-60,000ชิ้น 

ทำให้เจ้าหน้าที่บางส่วนในโรงพยาบาล จำเป็นต้องใช้หน้ากากผ้าแทน เช่น ฝ่ายโภชนาการ ฝ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยโดยตรง" รองศาสตราจารย์ สุรศักดิ์ ลีลาอุดุมลิปิ กล่าว


ทั้งนี้ ได้มีการติดตามสถานการณ์ พบว่า ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในแต่ละวันไม่เท่ากันบางวันคนไข้เยอะความต้องการในการใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ก็เพิ่มสูงไปด้วย


การจัดซื้อหน้ากากอนามัยฯของโรงพยาบาล รามาฯ 


ปกติทางโรงพยาบาล มีการจัดซื้อหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ตามพระราชบัญญัติจัดซื้อจัดจ้าง ปกติ โดยสินค้าประเภทนี้ใช้กลไกในการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านกรมบัญชีกลาง เพียงแต่ทางโรงพยาบาลได้ตั้งมาตรฐาน หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ พิจารณาจากคุณภาพ การรับรองต่างๆ

ส่วนใหญ่หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่ได้ จะมามาจากบริษัทผู้ผลิตในประเทศที่ผ่านมาตรฐาน


การจัดซื้อจัดจ้างหน้ากากอนามัยฯ เป็นแบบรายปี แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนี้ คือเมื่อทุกคน มีสัญญากันหมดแล้ว แต่การจัดส่งหน้ากากอนามัยฯ ไม่เกิดขึ้นตามที่ทำสัญญาไว้ ขาดแคลนกันไปหมด


ถึงจุดหนึ่งไม่ไหว ขาดแคลนหน้ากากอนามัยฯ จึงทำหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


หลายโรงพยาบาล ได้ประสบปัญหาขาดแคลนหน้ากากอนามัยทางการแพทย์เช่นเดียวกัน จึงได้มีการปรึกษาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการค้าภายในสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อจะได้แก้ปัญหาดังกล่าว 


"คือเรามีความเห็นและมองตรงกันว่า ถ้าต่างคนต่างแก้มือใครยาวสาวได้สาวเอาในการแก้ปัญหา ก็จะไม่เป็นทิศทางเดียวกัน เช่นโรงพยาบาลใหญ่อาจจะได้เปรียบกว่าโรงพยาบาลเล็ก แต่คนไข้ทุกคนควรที่จะได้รับการดูแล หรือบุคลากรทางการแพทย์ทุกคนควรจะได้รับการดูแล เราจึงนำข้อมูลต่างๆมาพิจารณาและปรึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งโรงพยาบาลปลายทางเป็นปลายทางในการใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ต้นทางต่างหาก ที่ต้องร่วมในการแก้ปัญหา เบื้องต้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพาณิชย์กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้รับทราบถึงปัญหาและมีแนวทางการแก้ไขตั้งแต่ต้นทางในการสนับสนุนการผลิตหน้ากากอนามัยฯ นำเข้าวัตถุดิบ รวมถึงการกระจายให้ครอบคลุมต่อความต้องการใช้ให้มากที่สุด" รองศาสตราจารย์ สุรศักดิ์ ลีลาอุดุมลิปิ กล่าว


การกระจายหน้ากากอนามัยฯ ควรมองที่ตรงไหนก่อน

มองว่ากลุ่มที่มีความจำเป็นที่จะต้องกระจายหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ก่อน คือ 1. กลุ่มผู้ป่วย สถานพยาบาล (สถานพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชน) เนื่องจากทุกคนทำงานในด้านดูแลผู้ป่วยและสาธารณสุข กลุ่มที่ 2. คือ กลุ่มที่ทำงานในพื้นที่เสี่ยง เช่นบุคลากรที่ทำงานในท่าอากาศยานแล้วก็ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง หากวางหลักกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ก็จะสามารถทำให้การกระจายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 


หน้ากากอนามัยฯตอนนี้มีพอไหม


ยอมรับ ตอนนี้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่อยู่ในคลังสำรองของทางโรงพยาบาลมีไม่เยอะ โดยอยู่ได้เพียง 1 สัปดาห์ ก็ถือว่าเก่งแล้ว ปกติจะไม่มีคลังสำรองหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ไว้ที่ละเยอะๆ แต่ในภาวะการณ์โรคระบาดแบบนี้อยากให้มีแต่ ของไม่มีเท่านั้นเอง 


การจัดตั้งศูนย์จัดการหน้ากากอนามัยฯ


มองว่าการตั้งศูนย์บริหารจัดการหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ถือเป็นสิ่งที่ดีเพราะจะได้มีคนมาคอยมาบริหารจัดการกระจายและติดตาม เพราะฉะนั้นตัวเลขที่แบ่งมาให้ภาคสาธารณสุขประมาณ 7แสน ชิ้น มองว่าจะไม่ใช่ตัวเลขสุดท้าย คงจะต้องมีการปรับตัวเลข 


สถานพยาบาลเองก็ต้องคอยบริหารจัดการไม่ให้หน้ากากอนามัยหลุดรั่วไหลออกไปยังภายนอก เนื่องจากคนในกลุ่ม 3 ก็คือประชาชนทั่วไป ยอมเสียสละให้คนกลุ่มหนึ่งคือผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ในการใช้ โดยต้องใช้อย่างพอดี ไม่ใช้ตุนไว้เยอะ โรงพยาบาลเองก็ต้องมีการควบคุมการใช้หน้ากากอนามัย 


หากทุกคนช่วยกันก็จะทำให้ระบบการบริหารจัดการอยู่ได้ และจะทำให้หน้ากากอนามัยกลับคืนมา


ส่วนมาตรการระยะยาวหรือมาตรการทางเลือกทั้งหลาย เช่นหน้ากากผ้า ได้มีการทำคู่ขนานกันไป ที่สำคัญคือภาคประชาชนต้องมีความรอบรู้ว่ากลุ่มไหนที่ควรจะใส่ก่อนเป็นอันดับแรก ไม่ใช่ว่าใส่หน้ากากอนามัยทางการแพทย์กันหมดทุกคน


ความกังวล หากการระบาดโควิด-19 เข้าสู่ระยะ3 หน้ากากอนามัย อาจไม่เพียงพอ


มีความเป็นไปได้ หากมีการระบาด ทั่ว ประเทศ ซึ่งต้องมานั่งพิจารณากันถึงความจำเป็น ซึ่งหน้ากากอนามัยฯ เป็นแค่ปลายทาง ต้องไปแก้ที่ต้นทางว่ารัฐหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะวางมาตรการยังไง


"หน้ากากอนามัยทางการแพทย์เป็นแค่เครื่องมือในการใช้ประกอบการแต่งตัว เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อแบบหนึ่ง แต่ไม่ใช่ตัวที่จะแก้ปัญหา หากจะแก้ปัญหาต้องไปแก้ที่ต้นทาง ซึ่งมองว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีมาตรการรับมืออยู่"


การที่เราใส่หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อตัวแพทย์ แต่เป็นประโยชน์ต่อคนไข้ที่เขาจะได้ปลอดภัย 


เกาะติดข่าวที่นี่ 

website: www.TNNThailand.com  

facebook : TNNThailand 

twitter : @TNNThailand 

Line : @TNNThailand 

Youtube Official : TNNThailand


ข่าวแนะนำ