TNN ปี 2568 ไทยเสี่ยงภัยพิบัติจากสภาพภูมิอากาศสุดขั้วเพิ่ม ร้อนแล้งจัด-ฝนหนักน้ำท่วม มาครบ

TNN

สังคม

ปี 2568 ไทยเสี่ยงภัยพิบัติจากสภาพภูมิอากาศสุดขั้วเพิ่ม ร้อนแล้งจัด-ฝนหนักน้ำท่วม มาครบ

ปี 2568 ไทยเสี่ยงภัยพิบัติจากสภาพภูมิอากาศสุดขั้วเพิ่ม ร้อนแล้งจัด-ฝนหนักน้ำท่วม มาครบ

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมคาดปี 2568 ไทยเสี่ยงเผชิญภัยพิบัติสภาพภูมิอากาศสุดขั้วเพิ่ม ทั้งร้อน-แล้ง ฝนมาช้าแต่ตกหนักเสี่ยงน้ำท่วม และต้องรับมือกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมจาก EU

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย เผยแพร่ข้อมูลผ่านเฟซบุ๊ก Sonthi Kotchawat เรื่อง ปี 2568 ภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นในประเทศไทยจากสภาพภูมิอากาศสุดขั้วและมาตรการของ EU ระบุข้อความว่า


สภาพภูมิอากาศสุดขั้วจะเกิดขึ้นอีกครั้ง โดย ปี 2568 ประเทศไทยอาจได้รับภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพิ่มขึ้น โดยในปี 2567 อุณหภูมิสูงสุดของประเทศไทยได้ทะลุสูงสุดไปแล้วอยู่ที่ 44.5 องศาเซลเซียส เมื่อช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมที่จังหวัดลำปาง แม่ฮ่องสอนและจังหวัดตาก เนื่องจากมีป่าไม้ปกคลุมน้อยและเป็นพื้นที่แอ่งกระทะและแดดจัดมากจึงประสบภาวะแห้งแล้ง 


แต่ในปี 2568 หลังจากเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไปจากการคาดการณ์พบว่าประเทศไทยจะเข้าสู่ภาวะเอลนีโญซึ่งคาดการณ์ว่าประมาณปลายเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมจะมีอุณหภูมิสูงสุดทะลุถึง 45 องศาเซลเซียสถือว่าร้อนที่สุดตั้งแต่เคยมีมาจะเกิดความแห้งแล้งจะขาดแคลนน้ำในการทำเกษตร กรรม ฤดูฝนจะมาช้าซึ่งในช่วงฤดูฝนอาจจะมีพายุฤดูร้อนเข้ามาในประเทศไทยหลายลูกตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน 2568 ฝนจะตกหนักลักษณะเป็นแห่ง ๆ อาจเกิดภาวะน้ำท่วมได้ ขณะที่น้ำทะเลในอ่าวไทยและมหาสมุทรอันดามันมีอุณหภูมิสูงขึ้นเกิน 3.0 องศาเซลเซียส จากก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยมีค่าอุณหภูมิเฉลี่ยเกิน30 องศาเซลเซียสไปแล้ว น้ำทะเลจะมีภาวะเป็นกรดมากขึ้นเนื่องจากก๊าซCo2 ถูกดูดซับลงไป และหินปูนในทะเลคายก๊าซ Co2 ออกมาความเป็นกรดจะทำให้เกิดปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาว หญ้าทะเลจะตายเป็นวงกว้าง ทำให้พะยูนซึ่งเป็นสัตว์สงวนหายากตายลงมากขึ้นด้วย


ขณะที่กรุงเทพมหานครเป็นหนึ่งในหกของเมือง ของโลกที่อยู่ในภาวะเสี่ยง คาดการณ์ว่าภายในปี 2030 (พ.ศ.2573) พื้นที่ 40% ของ กทม. จะถูกน้ำท่วมเสียหายทั้งจากฝนตกหนัก น้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นรวมทั้งน้ำหนักจากตึกละฟ้าส่งผลให้กทมจะต้องจมน้ำในอัตรา 0.8 นิ้วต่อปีด้วย


ปี 2568 ไทยเสี่ยงภัยพิบัติจากสภาพภูมิอากาศสุดขั้วเพิ่ม ร้อนแล้งจัด-ฝนหนักน้ำท่วม มาครบ


ทั้งนี้ในปีพ.ศ.2568 (ค.ศ 2025) นโยบายของประเทศสหรัฐอเมริกาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจจะมีความไม่แน่นอน เพราะประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาใหม่ คือ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศว่าปัญหาโลกร้อนไม่มีอยู่จริงและจะยังสนับสนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลแถมยังขู่จะถอนตัวออกจาก COP หรือข้อตกลงปารีส หมายถึงจะไม่ให้ความร่วมมือกับนานาชาติในการลดการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจก และจะไม่สนับสนุนเงินทุนในการป้องกันภัยพิบัติให้กับประเทศกำลังพัฒนาด้วย โลกถึงการสะเทือนอีกครั้งหนึ่ง


สำหรับประเทศไทยเป็นอันดับที่ 13 ใน 180 ประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติมากที่สุด ทั้งที่ปล่อยแก๊สเรือนกระจกน้อยกว่า 1% ของโลก ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา ประ เทศไทยมีอุณภูมิเฉลี่ยสูงสุดมากกว่า 35 องศาเซลเซียส ในช่วงฤดูร้อนวันที่อากาศร้อนจัดจะเกิดบ่อยครั้ง ฤดูร้อนยาวนานขึ้น ส่วนฤดูหนาวจะสั้นลงและหนาวน้อยลงและเมื่อเกิดพายุหรือฝนตกจะตกหนักมาก ลมพัดรุนแรงขึ้นในแต่ละครั้ง แต่จำนวนวันที่ฝนตกหนักจะเกิดลดลง และจะเกิดภัยแล้งเพิ่มมากขึ้น


นอกจากนี้นโบายCBAM’ หรือ ‘Carbon Border Adjustment Mechanism’ เป็นมาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนกำหนดโดยสหภาพยุโรป (EU)โดยจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้นำเข้าสินค้าประเภทที่มีการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิตสูง (carbon intensive products) มีผลบังคับใช้แล้ว และขณะนี้อยู่ในระยะเปลี่ยนผ่าน เริ่มเก็บค่าCBAM certification หรือเอกสารรับรองการจ่ายค่าธรรมเนียมการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นในกระ บวนการผลิตจากผู้นำเข้าสินค้าตั้งแต่ปี 2569 เป็นต้นไป ดังนั้นผู้ผลิตจึงต้องเร่งดำเนินการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง และเพิ่มความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานEU เพื่อให้สินค้ามีราคาที่แข่งขันในตลาดEU ได้ โดยสินค้า 6 ประเภทแรกที่มีผลบังคับใช้ คือ ซีเมนต์ , พลังงานไฟฟ้า ,  ปุ๋ย ,  ไฮโดรเจน , เหล็กและเหล็กกล้า , และอะลูมิเนียม 


ในปีพ.ศ. 2578 (ค.ศ. 2035) เป็นต้นไป EUจะบังคับใช้มาตรการ CBAM อย่างเต็มรูปแบบหรือ ‘full implementation’ โดย EU จะยกเลิกสิทธิ์การปล่อยคาร์บอนแบบให้เปล่า(free allowances) ของทุกภาคอุตสาหกรรม ทุกประเทศที่จะส่งสินค้าทุกประเภทเข้า EU จะต้องปล่อยคาร์บอนให้ได้ตามมาตรฐาน EU เท่านั้น ไม่อย่างนั้นขายเข้าEUไม่ได้ ทำบริษัทขนาดใหญ่ของประเทศไทยเริ่มต้นไปปลูกป่าเพิ่ม เพื่อให้ดูดซับคาร์บอนทดแทนการปลดปล่อย จากแหล่งกำเนิด เพื่อให้ได้มาตรฐานของ EU มิเช่นนั้นค้าขายไม่ได้


ข้อมูลและภาพ : เฟซบุ๊ก สนธิ คชวัฒน์  Sonthi Kotchawat

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง