พบเยาวชนปอดอักเสบเฉียบพลันจากบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มสูง 5.3 เท่า
กรมควบคุมโรคห่วงช่วงหน้าหนาวการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ หลายโรคมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ขณะที่ภัยสุขภาพพบเยาวชน 10 - 14 ปี มีภาวะปอดอักเสบเฉียบพลันจากบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มสูง 5.3 เท่า
ที่กรมควบคุมโรคพญ.จุไร วงศ์สวัสดิ์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิและโฆษกกรมควบคุมโรค และนพ.วีรวัฒน์ มโนสุทธิ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิโฆษกกรมควบคุมโรค ร่วมแถลงข่าวก้าวเข้าสู่ปีใหม่ปลอดโรคและภัยสุขภาพพร้อมและวิธีดูแลตนเองและคนในครอบครัวให้แข็งแรงและห่างไกลจากโรคต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในช่วงนี้
พญ.จุไร วงษ์สวัสดิ์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิและโฆษกกรมควบคุมโรค ระบุ สถานการณ์โรคติดต่อและภัยสุขภาพที่มีการเฝ้าระวังในช่วงนี้ ทั้งกลุ่มโรคระบาด ที่ต้อง เฝ้าระวังงาน โควิด-19 ไข้หวัดใหญ่โรคไข้เลือดออก หรือปัญหาภัยสุขภาพเช่นโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันภัยสุขภาพที่เกิดจากฝุ่น PM 2.5
นพ.วีรวัฒน์ กล่าวถึง สถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรค โควิด-19 ซึ่งพบแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากเข้าสู่ช่วงฤดูหนาวเชื้อไวรัสสามารถแพร่กระจายได้ดีโดยข้อมูลตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม ถึง 14 ธันวาคม 2567 มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 44,548 ราย เสียชีวิต 220 ราย โดย ผู้ป่วยมีภาวะปอดอักเสบและต้องใส่ท่อช่วยหายใจซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนหรือได้รับวัคซีนไม่ครบจำนวน พบการ การติดเชื้อในประเทศไทยยังเป็นสายพันธุ์โอไมครอน JN.1
ด้านสถานการณ์โรคฝีดาษวานรทั่วโลกในปี 2567 พบผู้ป่วยจำนวน 19823 รายในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 73 รายสำหรับประเทศไทยในปี 2567 พบผู้ป่วย 175 ราย เสียชีวิต 4 ราย ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ที่มีโรคอื่นร่วมเช่นโรค เอดส์
สำหรับสถานการณ์โรคระบาดอื่นๆเช่นไข้หวัดใหญ่ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเด็กเล็กและวัยวัยเรียน โรคไข้เลือดออก ที่ต้องเฝ้าระวังในพื้นที่ภาคใต้ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันจากเชื้อโนโรไวรัส ที่พบมากในโรงเรียน 12 เหตุการณ์มีผู้ป่วย 991 ราย
ส่วนสถานการณ์โรคระบาดที่ต้องเฝ้าระวังในปี 2567 ได้มีการติดตามสถานการณ์โรคระบาดที่ไม่ทราบสาเหตุในสาธารณรัฐประชาธิปไตยของโกหน่วยข้อมูลณวันที่ 9 ธันวาคม 2567 พบผู้ป่วย 527 ราย มีผู้เสียชีวิต 32 ราย ซึ่งส่วนใหญ่มีอาการไข้ไอร่างกายอ่อนเพลีย ทางองค์การอนามัยโลกได้ทำการเก็บตัวอย่างมาตรวจสอบแต่ยังไม่สามารถยืนยันได้ชัดเจน สำหรับตัวการก่อโรค ยังต้องรอการตรวจวินิจฉัยเพิ่ม
ขณะที่ ภาวะภัยสุขภาพที่พบมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นคือภาวะปอดอักเสบจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้าพบว่าในกลุ่มเยาวชนไทยมีผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น 5.3 เท่า โดยในช่วงเจ็ดปีที่ผ่านมา (ปี 2558 ถึง 2565 ) พบผู้ป่วยยืนยันจำนวน 3 ราย มีประวัติสูบบุหรี่ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพบปอดอักเสบมีลักษณะเป็นฝ้ายืนยันไม่พบการติดเชื้อทั้งเชื้อไวรัสเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียผู้ป่วยมีอาการปอดอักเสบเฉียบพลันเช่นหายใจลำบากไอเหนื่อยหอบหรืออาการทางระบบทางเดินอาหารเช่นคลื่นไส้อาเจียนท้องเสีย
ขณะที่ผู้ป่วยอาการเข้าข่ายในปีนี้ มีจำนวน 5 ราย มีอายุระหว่าง 10 ถึง 14 ปีมีประวัติการสูบบุหรี่ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องและอยู่ในระหว่างการตรวจสอบอย่างชัดเจน
ข่าวแนะนำ
-
ฉีดฟิลเลอร์อย่างไร ไม่ให้หน้าพัง
- 17/12/67