TNN "ฝันร้าย" สัญญาณอันตรายปัญหาสุขภาพ

TNN

สังคม

"ฝันร้าย" สัญญาณอันตรายปัญหาสุขภาพ

ฝันร้าย สัญญาณอันตรายปัญหาสุขภาพ

การนอนฝันร้ายบ่อย ๆ อาจส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิตซึ่งเกิดได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก

การนอนหลับมักมาคู่กับ "ความฝัน" หากฝันดีตื่นเช้ามาก็สดใสไม่มีเรื่องกังวลอะไร แต่ถ้า "ฝันร้าย" ก็จะสร้างความวิตกกังวลส่งต่อสุขภาพกายและจิตใจ เนื่องจากการฝันร้าย จะก่อให้เกิดอารมณ์ด้านลบ ผู้ที่ฝันสามารถจำเนื้อหาได้ บางคนมักจะฝันร้ายตอนเช้าส่งผลให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวล หวาดกลัว หรือโศกเศร้า



โดยสาเหตุของฝันร้าย ที่พบบ่อย 

- มาจากความวิตกกังวลและความเครียด มีปัญหาด้านสุขภาพจิต เช่น ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล

- ภาวะผิดปกติทางจิตใจที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ร้ายแรง เกิดการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักหรือถูกกระทบกระเทือนทางจิตใจอย่างรุนแรง 

- ผลข้างเคียงของยา เช่น ยานอนหลับ

- ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่มากเกินไป

- มีความผิดปกติของการหายใจขณะหลับหรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

- และการรับประทานอาหารที่ย่อยยากก่อนนอน เช่น เนื้อสัตว์

ฝันร้าย สัญญาณอันตรายปัญหาสุขภาพ



ส่วนการฝันร้ายในเด็ก สามารถเกิดขึ้นได้ โดยเด็กเล็ก 1-2 ปี จะเริ่มมีอาการฝันร้าย คือ การสะดุ้งตื่นกลางดึกและร้องไห้ แต่จะยังไม่รู้ว่าคือฝันร้าย แต่เมื่ออายุ 3-4 ปี จะเริ่มสื่อสารถึงเรื่องราวที่ฝันได้ และรับรู้ว่าสิ่งนั้นคือฝันร้าย


ฝันร้าย สัญญาณอันตรายปัญหาสุขภาพ



ซึ่งสาเหตุการฝันร้ายในเด็ก อาจเกิดจากความเหนื่อยล้าหรือเกิดจากสถานการณ์ เหตุการณ์ สิ่งแวดล้อมที่เด็กได้รับก่อนเข้านอน เช่น ดูภาพยนตร์ โทรทัศน์ หรือคลิป Youtube ที่มีภาพ เสียงที่น่ากลัวหรือมีความรุนแรง โดยวิธีลดอาการฝันร้ายของเด็ก ควรให้เด็กเข้านอนเป็นเวลา งดดูทีวี ดูหนังที่มีฉากน่ากลัวหรือสยองขวัญ งดรับประทานอาหารย่อยยากจะทำให้หลับยากและเสี่ยงต่อฝันร้าย



ส่วนการฝันร้าย แบบไหนบ่งบอกว่ากำลังป่วยหรือมีความผิดปกติของสภาพจิตใจ คือ การฝันร้ายเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทำให้สะดุ้งตื่นจากฝันร้ายอยู่เสมอ จนรบกวนการนอนหลับเป็นประจำ และส่งผลให้ไม่มีความสุขในการใช้ชีวิต ทำกิจกรรม การงาน หรือเข้าสังคม


ฝันร้าย สัญญาณอันตรายปัญหาสุขภาพ



ส่วนวิธีป้องกันการฝันร้าย 

- ควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนก่อนนอน เช่น ชา กาแฟ ช็อกโกแลต น้ำอัดลม

- พยายามทำกิจกรรมผ่อนคลายก่อนนอน เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูหนัง

- รักษาอุณหภูมิในห้องไม่ให้ร้อนหรือเย็นเกินไป

- ทำให้ห้องมืดสนิทช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น

- ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 20-30 นาทีในช่วงเย็นหรือประมาณ 3-4 ชั่วโมงก่อนเข้านอน

- กำหนดเวลานอนให้เหมือนกันในทุกวันให้ร่างกายได้จดจำเวลาเข้านอนและตื่นนอน

- หลีกเลี่ยงการเล่นโซเชียลหรือติดตามข่าวเครียด ๆ ก่อนนอน


ฝันร้ายไม่ใช่ความผิดปกติเสมอไป แต่หากเกิดขึ้นบ่อยจนรบกวนชีวิตประจำวัน พบว่ามักมีสาเหตุบางอย่างที่ควรได้รับการบำบัดรักษา ข้อมูล : ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล


กราฟิก : TNN

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง