TNN ถอดบทเรียนเชียงใหม่น้ำท่วม วิกฤตสุดในรอบ 500 ปี “เล็งสร้างระบบป้องกันเมือง”

TNN

สังคม

ถอดบทเรียนเชียงใหม่น้ำท่วม วิกฤตสุดในรอบ 500 ปี “เล็งสร้างระบบป้องกันเมือง”

ถอดบทเรียนเชียงใหม่น้ำท่วม วิกฤตสุดในรอบ 500 ปี “เล็งสร้างระบบป้องกันเมือง”

ถอดบทเรียนเชียงใหม่น้ำท่วม วิกฤตสุดในรอบ 500 ปี เล็งพิจารณาสร้างระบบป้องกันเมืองด้วยเขื่อนขนาดเล็ก

วันนี้ (8 ต.ค. 67) นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธานประชุมศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) ครั้งที่ 3/2567 โดยระบุว่าสถานการณ์น้ำท่วมอำเภอเมืองเชียงใหม่ว่าเป็นสิ่งปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในรอบ 500 ปี ซึ่งเกิดจากน้ำท่วมใหญ่ ไม่ใช่ความผิดพลาดของราชการหรือการบริหารจัดการของราชการเป็นที่ต้องเผชิญ


สิ่งที่เกิดขึ้นชี้ให้เห็นว่าจำเป็นต้องมีระบบป้องเมืองด้วยเขื่อนขนาดเล็ก จึงขอให้กรมชลประทาน กระทรวงมหาดไทยศึกษาเรื่องนี้ พร้อมกับให้ร่วมกับมือกับส่วนท้องถิ่นศึกษาแนวทางเส้นทางน้ำให้เกิดการระบายน้ำให้มากที่สุด


ทั้งนี้ ขอให้ศึกษาอย่างจริงจังในการฟื้นฟูสภาพป่าไม้ เพิ่มพื้นที่ต้นน้ำ เพื่อสร้างความสมบูรณ์และป้องกันการพังทลายของดิน โดยให้จัดตั้งคณะทำงาน นำผู้มีประสบการณ์มีความรู้มาร่วมกันศึกษาและวางแผนในระยะสั้นและระยะกลางระยะยาวต่อไป ซึ่งต้องการเห็นคำแนะนำที่จะสามารถเกิดเกิดขึ้นภายใน 3 เดือนนี้ เพื่อที่จะได้ดำเนินการออกแบบรับมือกับสถานการณ์ต่อไป


นายภูมิธรรม ยังได้กำชับให้คณะทำงานภายใต้ ศปช. ประชุมและแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่จังหวัดอยุธยาและใกล้เคียง ที่ได้รับผลกระทบการระบายน้ำ โดยได้สั่งการให้คณะทำงานภายใต้ศูนย์ฯ พิจารณาให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด จากการประเมินเบื้องต้นเขื่อนเจ้าพระยาจะระบายสูงสุดประมาณ 2,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยพยายามระบายน้ำในระดับคงที่ ที่ 2,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะเกิดผลกระทบในพื้นที่นอกคั้นกันน้ำในจังหวัดชัยนาท อยุธยา อ่างทอง และสิงห์บุรี แต่ไม่มีผลกระทบกับกรุงเทพมหานครเหมือนปี 2554 แน่นอน


สำหรับการหนุนของน้ำทะเลจะขึ้นสูงอีกครั้งในช่วงวันที่ 20-21 ตุลาคม 2567 ในช่วงเวลาดังกล่าวสถานการณ์ในภาคเหนือและภาคกลางตามคาดการณ์ฝนจะลดน้อยลงและฝนจะตกหนักในพื้นที่ภาคใต้ โดยได้สั่งการให้มีการประชุมติดตามสถานการณ์เป็นประจำทุกวันเพื่อเตรียมการแก้ไขปัญหาได้ทันที หากมีฝนตกหนักเกิดขึ้น ขอให้ติดตามสถานการณ์เป็นประจำทุกวันเพื่อเตรียมการแก้ไขปัญหาได้ทันทีหากมีฝนตกหนักเกิดขึ้น ซึ่งลักษณะเป็นน้ำไหลแรงและฉับพลัน ขอให้แก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ กำจัดขยะต่าง ๆ ที่มีโอกาสทำให้เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการระบายน้ำ


ภาพจาก: AFP 

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง