TNN ยุค "โลกเดือด" พายุไต้ฝุ่นขึ้นฝั่งอ่อนกำลัง แต่ฝนตกหนักมากกว่าปกติ

TNN

สังคม

ยุค "โลกเดือด" พายุไต้ฝุ่นขึ้นฝั่งอ่อนกำลัง แต่ฝนตกหนักมากกว่าปกติ

ยุค โลกเดือด พายุไต้ฝุ่นขึ้นฝั่งอ่อนกำลัง แต่ฝนตกหนักมากกว่าปกติ

ยุคโลกเดือด พายุไต้ฝุ่นจะอ่อนกำลังลงเมื่อเคลื่อนเข้าสู่แผ่นดิน แต่ฝนจะตกหนักมากกว่าปกติร้อยละ 25 ถึง 30

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โพสต์เฟซบุ๊ก Sonthi Kotchawat ระบุว่า ในยุคโลกเดือด พายุไต้ฝุ่นจะอ่อนกำลังลงเมื่อเคลื่อนเข้าสู่แผ่นดิน แต่ฝนจะตกหนักมากกว่าปกติร้อยละ 25 ถึง 30


1. พายุก่อตัวขึ้นและเมื่อเคลื่อนที่ผ่านทะเล หรือมหาสมุทร จะกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นหรือซูเปอร์ไต้ฝุ่น เพราะอะไร ?


ในภาวะโลกร้อนเกือบถึง 1.5 องศาฯ น้ำในมหาสมุทรจะมีอุณหภูมิที่สูงกว่าปกติ (น้ำอุ่น) รวมทั้งอากาศเหนือมหาสมุทรมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นด้วย ทำให้เกิดการระเหยของน้ำได้มากขึ้นกว่าเมื่อก่อน ลมพายุที่พัดผ่านจะดูดเอาความชื้นที่ระเหยขึ้นมา รวมทั้งอากาศร้อนเข้าไว้ในตัวพายุ กลายเป็นมวลความกดอากาศต่ำขนาดใหญ่ขึ้น และกลายเป็นพายุหมุนไต้ฝุ่นที่รวบรวมเอาทั้งความชื้นและอากาศร้อนไว้ในตัวเอง โดยจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากกว่า 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง


การที่โลกมีอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นเฉลี่ย 1.5 องศาจะทำให้เกิดพายุไต้ฝุ่นในมหาสมุทรจำนวนมาก และรุนแรงมากกว่าเมื่อก่อนถึงร้อยละ 25


2.เมื่อพายุไต้ฝุ่นเคลื่อนเข้ามาในแผ่นดินจะอ่อนกำลัง และมีความเร็วลดลงด้วยสาเหตุ 2 ประการ


2.1 ประเด็นหลักคือเมื่อพัดเข้าใกล้หรือขึ้นมาบนฝั่งจะปะทะอากาศที่เย็นกว่าจะทำให้เกิดฝนตกในปริมาณมาก อาจเกิดน้ำท่วมได้ และจะทำให้ตัวพายุหมุนมีความชื้นและไอน้ำในตัวเองลดลง ขณะที่บนแผ่นดินไม่มีปริมาณน้ำมหาศาลที่ระเหยขึ้นให้พายุดูดเหมือนอยู่ในมหาสมุทร รวมทั้งอากาศที่อยู่เหนือแผ่นดินมีอุณหภูมิที่ต่ำกว่าในมหาสมุทร จึงเป็นสาเหตุให้ความเร็วของพายุไต้ฝุ่นลดลงเรื่อย ๆ กลายเป็นพายุโซนร้อน (มีความเร็วอยู่ระหว่าง 63-118 กม.ต่อชม.) และกลายเป็นพายุดีเปรสชั่น (ความเร็วต่ำกว่า 63 กม.ต่อชม.) สุดท้ายเป็นเพียงแค่หย่อมความกดอากาศต่ำและสลายตัวไปเอง


2.2 หากพายุพัดเข้าสู่แผ่นดินผ่านสภาพภูมิประเทศที่สูงกว่าพื้นราบ เช่น ภูเขา ที่ราบสูง เป็นต้น จะทำให้เกิดแรงเสียดทาน (friction) ระหว่างลมพายุกับพื้นภูเขามากขึ้น จึงทำให้ความเร็วลมพายุลดลงบ้าง แต่จะมีฝนตกหนักที่หน้าภูเขา หากเป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ฝนจะตกหนักมากขึ้น หากมีการเปิดหน้าดินบนภูเขาด้วยน้ำจะไหลเชี่ยวกรากจากที่สูงลงที่ต่ำและจะพัดพาเอาหน้าดินและโคลนต่าง ๆ ไหลลงพื้นที่ราบด้านใต้ ซึ่งคาดการณ์ว่าในยุคโลกร้อนจะเกิดฝนตกหนักมากขึ้นถึง 25-30 % ทุก ๆ อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น1 องศาฯ อย่างไรก็ตามหากเป็นยอดเขาที่สูง และมีพายุที่มีกำลังแรงพัดผ่าน อาจทำให้เกิดกระแสลมหมุนรุนแรงหลังภูเขา(Eddy current) ก่อให้เกิดความเสียหายได้มากขึ้น ทำความเสียหายได้มากขึ้น


3. ปัจจัยที่ทำให้ประเทศไทยใกล้พื้นที่สูงเกิดน้ำท่วมหนัก ดินโคลนถล่มมากขึ้นทุก 2 ถึง 5 ปี คือ ในยุคโลกร้อน ฝนจะตกมากขึ้นและนานกว่าปกติ , ป่าไม้บนยอดดอยถูกทำลายและมีการบุกรุกจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวมากขึ้น , ผังเมืองและผังการใช้ที่ดินในพื้นที่ราบเกิดการเปลี่ยนแปลง มีการก่อสร้างถนนและบ้านเรือนขวางทางน้ำ , พื้นที่แม่น้ำลำคลองที่รองรับน้ำตื้นเขิน , แม่น้ำโขงล้นตลิ่งและฝนตกหนัก ทำให้เขื่อนรับน้ำไม่ได้ , น้ำทะเลหนุน เป็นต้น


ยุค โลกเดือด พายุไต้ฝุ่นขึ้นฝั่งอ่อนกำลัง แต่ฝนตกหนักมากกว่าปกติ


ข้อมูลและภาพ : เฟซบุ๊ก Sonthi Kotchawat

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง