ประกันสังคม ไขข้อสงสัย ม.33 ใช้สิทธิกรณีว่างงานได้ ต้องส่งเงินสมทบกี่เดือน
ประกันสังคม ไขข้อสงสัย ผู้ประกันตนมาตรา 33 ใช้สิทธิกรณีว่างงานได้ ต้องส่งเงินสมทบอย่างน้อยกี่เดือน
สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ตอบทุกข้อสงสัย ผู้ประกันตนมาตรา 33 สามารถใช้สิทธิกรณีว่างงานได้ต้องส่งเงินสมทบอย่างน้อยกี่เดือน โดยต้องส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนการว่างงาน
เงื่อนไขการได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงานมีดังนี้
1. กรณีเลิกจ้าง ได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วันต่อปีปฏิทิน
2. กรณีลาออกจากงานหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง ได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วันต่อปีปฏิทิน
- ผู้ประกันตนว่างงานเพราะถูกเลิกจ้าง ลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง มากกว่า 1 ครั้งใน 1 ปีปฏิทิน ได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงานทุกครั้งรวมกันไม่เกิน 180 วัน
- ผู้ประกันตนว่างงานเพราะลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง มากกว่า 1 ครั้งใน 1 ปีปฏิทิน ได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงานรวมกันไม่เกิน 90 วัน
ค่าจ้าง หมายถึง ค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบที่นำส่งสำนักงานประกันสังคม ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท
หากลูกจ้างว่างงานจากการถูกเลิกจ้าง ลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง ผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียน
ผู้ว่างงานทางเว็บไซต์กรมการจัดหางาน (https://e-service.doe.go.th) ภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ว่างงานและยังไม่มีการกลับเข้าทำงานกับนายจ้างใหม่และรายงานตัวตามตารางนัดและรายงานตัวภายในเดือนที่มีการนัดรายงานตัว จึงจะมีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน
เอกสารที่ใช้ในการขึ้นทะเบียนกรณีว่างงาน
1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7)
2. หนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาแบบแจ้งลาออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส. 6-09)
3. บัตรประจำตัวประชาชน
4. สำเนาบัญชีธนาคาร ประเภทออมทรัพย์
5. หนังสือเลิกจ้าง (กรณีถูกเลิกจ้าง)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
ภาพจาก TNN ONLINE / ประกันสังคม
ข่าวแนะนำ