TNN ภัยแล้ง 2567 "กรมประมง" เตือนระวังสัตว์น้ำเครียด ป่วย ตาย แนะวางแผนรับมือ

TNN

สังคม

ภัยแล้ง 2567 "กรมประมง" เตือนระวังสัตว์น้ำเครียด ป่วย ตาย แนะวางแผนรับมือ

ภัยแล้ง 2567 กรมประมง เตือนระวังสัตว์น้ำเครียด ป่วย ตาย แนะวางแผนรับมือ

กรมประมง แนะแ วางแผนรับมือภัยแล้ง ชี้แหล่งน้ำธรรมชาติปริมาณลดลง ส่งกระทบต่อสัตว์น้ำ มีอาการเครียด ป่วย ตาย เสนอลดการผลิต คัดเลือกพันธุ์สัตว์น้ำที่แข็งแรง จากฟาร์มที่ได้มาตรฐาน

นายมานพ หนูสอน รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทย ได้เข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการ ทำให้ในช่วงเวลากลางวันอุณหภูมิสูงขึ้น และอากาศร้อนจัด ปริมาณน้ำทั้งในแหล่งน้ำธรรมชาติ และแหล่งน้ำชลประทานลดน้อยลง ส่งผลให้สัตว์น้ำที่อยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติ และที่เกษตรกรเลี้ยงในบ่อดินรวมถึงในกระชัง ปรับตัวไม่ทัน เกิดความเครียด อ่อนแอ ป่วย และตายได้ 


เพื่อป้องกันและบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น กรมประมง จึงได้จัดทำแผนเตรียมรับสถานการณ์ในช่วงฤดูแล้ง ประจำปี 2567 โดยมีการวางแผนการให้ความช่วยเหลือไว้ 3 ระยะ คือ การเตรียมรับสถานการณ์ก่อนเกิดภัยแล้ง การให้ความช่วยเหลือขณะเกิดภัยแล้ง และการให้ความช่วยเหลือหลังเกิดภัยแล้ง เพื่อให้สามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ


นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมประชาสัมพันธ์แจ้งเตือน รวมถึงสร้างการรับรู้ข้อมูลข่าวสารให้แก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากภัยแล้งด้านประมง รวมถึงแจ้งเตือนเกษตรกรให้เฝ้าระวัง หมั่นดูแลสัตว์น้ำ และปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมประมงอย่างเคร่งครัด


โดยในส่วนของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แนะนำให้เกษตรกรปฏิบัติ เช่น ควรปรับลดขนาดการผลิต หรืองดเว้นการเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยทำการตากบ่อและตกแต่งบ่อเลี้ยงในช่วงฤดูแล้งแทน เพื่อเตรียมไว้เลี้ยงสัตว์น้ำในรอบต่อไป ทยอยจับสัตว์น้ำที่ได้ขนาดขึ้นจำหน่ายหรือบริโภค เพื่อลดปริมาณสัตว์น้ำภายในบ่อ หากจำเป็นต้องเลี้ยงสัตว์น้ำ ควรคัดเลือกพันธุ์สัตว์น้ำที่มีความแข็งแรง จากฟาร์มผู้ผลิตที่ได้มาตรฐานและเชื่อถือได้ และวางแผนการสำรองแหล่งน้ำต้นทุน เพื่อใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และเก็บรักษาพ่อแม่สัตว์น้ำ ตลอดช่วงฤดูแล้งและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


หากเป็นเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ควรปรับลดขนาดการผลิต หรืองดเว้นการเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยทำความสะอาดและซ่อมแซมกระชังในช่วงฤดูแล้งแทน และทยอยจับสัตว์น้ำที่ได้ขนาดขึ้นมาจำหน่ายหรือบริโภค เพื่อลดปริมาณสัตว์น้ำภายในกระชัง





ภาพจาก TNN Online


ข่าวแนะนำ