TNN WHO เตือนครึ่งหนึ่งของโลกเสี่ยง "โรคหัด" ระบาด แนะเร่งฉีดวัคซีน

TNN

สังคม

WHO เตือนครึ่งหนึ่งของโลกเสี่ยง "โรคหัด" ระบาด แนะเร่งฉีดวัคซีน

WHO เตือนครึ่งหนึ่งของโลกเสี่ยง โรคหัด ระบาด แนะเร่งฉีดวัคซีน

WHO เตือน ประเทศต่างๆ กว่าครึ่งหนึ่งของทั้งโลก เสี่ยงสูงที่จะเกิดการระบาดของ "โรคหัด" เช็กอาการและวิธีป้องกันได้ที่นี่

WHO เตือน ประเทศต่างๆ กว่าครึ่งหนึ่งของทั้งโลก เสี่ยงสูงที่จะเกิดการระบาดของ "โรคหัด" เช็กอาการและวิธีป้องกันได้ที่นี่


องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกมาประกาศเตือนว่า ประเทศต่าง ๆ กว่าครึ่งหนึ่งของทั้งโลก จะมีความเสี่ยงสูงถึงสูงมากที่จะเกิดการระบาดของโรคหัดภายในสิ้นปีนี้ เว้นแต่จะมีมาตรการป้องกันเร่งด่วน


สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า โรคหัดได้แพร่ระบาดเพิ่มขึ้นในหลาย ๆ ภูมิภาค ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอื่น ๆ ในช่วงปีที่เกิดโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นช่วงที่หน่วยงานบริการด้านสุขภาพมือเป็นระวิง และไม่สามารถให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ ได้ทันเวลา


นางนาตาชา โครว์ครอฟต์ ที่ปรึกษาอาวุโสด้านเทคนิคเกี่ยวกับโรคหัดและหัดเยอรมันจาก WHO กล่าวว่า "สิ่งที่เรากังวลคือในปี 2567 เราเห็นปัญหาความเหลื่อมล้ำในโครงการสร้างภูมิคุ้มกันของเรา และหากเราไม่รีบดำเนินการฉีดวัคซีน โรคหัดก็จะแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว"


นอกจากนี้ นางโครว์ครอฟต์ได้เรียกร้องให้มีการดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อปกป้องเด็ก ๆ โดยสังเกตเห็นว่า รัฐบาลต่าง ๆ ขาดความมุ่งมั่นในการป้องกันโรค เมื่อเทียบกับปัญหาอื่น ๆ เช่น วิกฤติเศรษฐกิจ และความขัดแย้งต่าง ๆ


โรคหัดเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่าย เกิดจากไวรัสที่สามารถแพร่เชื้อและติดต่อกันได้ผ่านทางอากาศ ซึ่งส่วนใหญ่ส่งผลกระทบต่อเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งทาง WHO ระบุว่า เราสามารถป้องกันโรคหัดได้ด้วยการฉีดวัคซีน 2 โดส ซึ่งในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน ทั่วโลกสามารถป้องกันการเสียชีวิตได้มากกว่า 50 ล้านคนนับตั้งแต่ปี 2543 ด้วยความพยายามในการฉีดวัคซีน



อาการของโรคหัด ข้อมูลจาก รพ.สมิติเวช

อาการของโรคหัดมักนำด้วยการมีไข้สูง และมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีน้ำมูก ไอ ตาแดง พบจุดสีเทาขาวบริเวณกระพุ้งแก้มตรงข้ามกับฟันกรามซี่ใน โดยจะขึ้นในช่วง 2-3 วัน ที่เป็นโรค หลังจากนั้นจะหายไป นอกจากนี้จะมีผื่นเป็นปื้นสีแดงซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคหัดขึ้น หลังจากเป็นไข้แล้ว 3-4 วัน โดยผื่นจะขึ้นจากบริเวณไรผม มาที่หน้า ลำตัว แขน และลงมาที่ขา แต่เมื่อใดที่ผื่นเหล่านี้ลงมาถึงบริเวณเท้าแล้วไข้ก็จะหายไป


การป้องกันโรคหัด

การป้องกันโรคหัดสามารถทำได้ด้วยการฉีดวัคซีน สำหรับเด็กโดยทั่วไปจะได้รับวัคซีน 2 เข็ม เป็นวัคซีนรวมโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม เข็มแรกจะฉีดตอนอายุ 9-12 เดือน เข็มที่สองจะฉีดตอนอายุ 2 ขวบ – 2 ขวบครึ่ง สำหรับผู้ใหญ่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน สามารถรับวัคซีนได้ 2 เข็ม โดยเว้นช่วงการรับวัคซีนแต่ละรอบให้ห่างกันอย่างน้อย 28 วัน อย่างไรก็ตาม วัคซีนป้องกันโรคหัดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น มีไข้ หรือมีอาการผื่นขึ้นคล้ายผื่นโรคหัดและหายไปเอง





ภาพจาก TNN Online

ข่าวแนะนำ