TNN จังหวัดปัตตานีรวมจุดเด่นอัตลักษณ์พื้นถิ่น "ผ้าบาติก" ทุกรูปแบบสู่ตลาดสากล

TNN

สังคม

จังหวัดปัตตานีรวมจุดเด่นอัตลักษณ์พื้นถิ่น "ผ้าบาติก" ทุกรูปแบบสู่ตลาดสากล

จังหวัดปัตตานีรวมจุดเด่นอัตลักษณ์พื้นถิ่น ผ้าบาติก ทุกรูปแบบสู่ตลาดสากล

จังหวัดปัตตานี รวมจุดเด่นอัตลักษณ์พื้นถิ่น "ผ้าบาติก" ทุกรูปแบบ ร่วมพัฒนาลวดลายและผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นถิ่นสู่ตลาดสากล

จังหวัดปัตตานี รวมจุดเด่นอัตลักษณ์พื้นถิ่น "ผ้าบาติก" ทุกรูปแบบ ร่วมพัฒนาลวดลายและผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นถิ่นสู่ตลาดสากล 


เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดปัตตานี นำโดย นายธีรวิทย์ กู้เกียรติ พัฒนาการจังหวัดปัตตานี กล่าวรายงานการจัดกิจกรรม : พัฒนาลวดลายและผลิตภัณฑ์พื้นถิ่นสู่การเผยแพร่อัตลักษณ์ผ้าปัตตานี ตามโครงการสืบสานอนุรักษ์ภูมิปัญญาผ้าไทยและยกระดับสู่ผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย ภายใต้โครงการตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของจังหวัดปัตตานี 


จังหวัดปัตตานีรวมจุดเด่นอัตลักษณ์พื้นถิ่น ผ้าบาติก ทุกรูปแบบสู่ตลาดสากล


โดยมี นางพาตีเมาะ สะดียามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เป็นประธานเปิดโครงการฯ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นสมาชิกกลุ่มผู้ผลิตและผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย จังหวัดปัตตานี 150 คน จาก 30 กลุ่มผู้ประกอบการ มีเจ้าหน้าที่โครงการและเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกิจกรรมในพิธีเปิดโครงการในวันนี้ ณ ห้องน้ำพราว 1 โรงแรม ซี.เอส.ปัตตานี โดยกิจกรรมดังกล่าวมีกำหนดจัดขึ้น 3 วัน ระหว่างวันที่ 28 – 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566


กิจกรรม : พัฒนาลวดลายและผลิตภัณฑ์พื้นถิ่นสู่การเผยแพร่อัตลักษณ์ผ้าปัตตานี จัดขึ้นเพื่อกระตุ้นให้เกิดการสืบสานภูมิปัญญา การพัฒนาและเพิ่มศักยภาพผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ในการพัฒนาอัตลักษณ์ เสริมสร้างภาพลักษณ์และการรับรู้คุณค่าของผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายสู่ระดับสากล สามารถแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าให้มีคุณภาพมาตรฐานที่สูงขึ้น เพิ่มมูลค่าและขยายตลาดเชิงพาณิชย์ได้มากขึ้น 


จังหวัดปัตตานีรวมจุดเด่นอัตลักษณ์พื้นถิ่น ผ้าบาติก ทุกรูปแบบสู่ตลาดสากล


โดยได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าและแฟชั่นของเมืองไทย นำโดย นายธนันท์รัฐ โจ ธนเสฏฐการย์ ที่ปรึกษาโครงการ "ผ้าไทยใส่ให้สนุก" ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และคณะฯ ร่วมเป็นวิทยากรพิเศษบรรยายและถ่ายทอดให้ความรู้ในกิจกรรม ดังนี้


1) การวิเคราะห์เทรนโลก ตลาดเป้าหมาย พฤติกรรมผู้บริโภคและออกแบบแนวคิดการจัดทำคอลเลคชั่น Collection

2) การกระตุ้น เสริมสร้างแนวคิดสร้างสรรค์ การค้นหาต้นทุนทางอัตลักษณ์ท้องถิ่น มาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม

3) วิเคราะห์ศักยภาพ การกำหนดโจทย์แนวคิดผลิตภัณฑ์ความต้องการพัฒนาและแก้ไขปัญหา

4) เทคนิคกระบวนการผลิตสิ่งทอต่าง ๆ เช่น การพิมพ์ การเขียน การมัด การเย็บ การทอ การฟอก การสกัดสี การย้อมสี การเลือกใช้สี ปัญหาที่พบบ่อยและแนวทางการแก้ไขปัญหา

5) การสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์

6) กิจกรรมเวิร์คช็อปร่วมกับวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถด้านงานผ้า “ร่าง” แบบ หรือลวดลาย เทคนิคต่าง ๆ

7) เทคนิคการควบคุมมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ รวมถึงการวิเคราะห์การตลาด

8) การสร้างแบรนด์ ภาพลักษณ์ของแบรนด์


จังหวัดปัตตานีรวมจุดเด่นอัตลักษณ์พื้นถิ่น ผ้าบาติก ทุกรูปแบบสู่ตลาดสากล


นางพาตีเมาะ สะดียามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อวงการผ้าไทยที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงมีแนวพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งส่งเสริมให้พวกเราคนไทยทุกคนได้สวมใส่ผ้าไทยที่หลากหลายในรูปแบบที่มีความทันสมัยสู่สากล เป็นที่นิยมในทุกเพศ ทุกวัย ทุกโอกาส 


ซึ่งการที่จะสวมใส่ผ้าไทยในทุกโอกาสได้นั้น ขึ้นอยู่กับการพัฒนาลวดลายให้หลากหลายและออกแบบตัดเย็บที่น่าสนใจ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ด้านผ้าไทยมาถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP และช่างทอผ้า เพื่อให้มีทักษะความรู้ นำไปสร้างอาชีพที่มั่นคง สามารถเพิ่มพูนรายได้ 

 

จังหวัดปัตตานีรวมจุดเด่นอัตลักษณ์พื้นถิ่น ผ้าบาติก ทุกรูปแบบสู่ตลาดสากล


นอกจากนี้ พระองค์ทรงสอนให้พวกเราทุกคนมีความรับผิดชอบต่อโลกใบเดียวของเรา ทรงให้ความสำคัญกับการใช้สีธรรมชาติ เช่น การปลูกพืชและต้นไม้ให้สีธรรมชาติ การใช้วัสดุจากท้องถิ่น เป็นต้น ด้วยพระอัจฉริยภาพดังกล่าว กลายเกิดเป็น Sustainable Fashion หรือ "แฟชั่นแห่งความยั่งยืน" 


โดยนำสิ่งรอบตัวจากธรรมชาติมาผสมผสาน รวมถึงทรงส่งเสริมเรื่องการตลาดในการเพิ่มเรื่องเล่า Story Telling การพัฒนารูปแบบ Packaging และจัดกิจกรรมกระตุ้นให้เกิดการสวมใส่ ผ้าไทยเป็นวิถีชีวิตในชีวิตประจำวัน รวมทั้งการถ่ายทอดภูมิปัญญาสู่เด็ก เยาวชนคนรุ่นต่อไป เพื่อให้ภูมิปัญญาเหล่านี้อยู่คู่กับสังคมไทยไปชั่วกาลนาน 


จังหวัดปัตตานีรวมจุดเด่นอัตลักษณ์พื้นถิ่น ผ้าบาติก ทุกรูปแบบสู่ตลาดสากล


ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว ยังมุ่งหวังให้ผู้ผลิตและผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ทั้ง 30 กลุ่ม ในพื้นที่ 12 อำเภอ ของจังหวัดปัตตานี ได้ร่วมพัฒนาสินค้าให้มีอัตลักษณ์ มีรูปแบบในการผลิตสินค้าที่สวยงามร่วมสมัย รวมทั้งการพัฒนาสินค้าที่มีคุณภาพและสื่อให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างมีคุณค่า ส่งเสริมให้สามารถเข้าถึงตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดที่มีมูลค่าสูง 


จังหวัดปัตตานีรวมจุดเด่นอัตลักษณ์พื้นถิ่น ผ้าบาติก ทุกรูปแบบสู่ตลาดสากล


เพื่อให้สามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับผู้ประกอบการ รวมทั้งสนับสนุนให้มีการจัดแสดงผลงานที่ผ่านการออกแบบและพัฒนาโดยใช้ผ้าไทยผ้าพื้นถิ่น ในพื้นที่เป็นวัตถุดิบในการผลิต สามารถกระตุ้นรณรงค์และเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมให้ประชาชนในพื้นที่ได้เข้ามามีส่วนช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงาน พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์การใช้และสวมใส่ผ้าไทยได้อย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น


จังหวัดปัตตานีรวมจุดเด่นอัตลักษณ์พื้นถิ่น ผ้าบาติก ทุกรูปแบบสู่ตลาดสากล

จังหวัดปัตตานีรวมจุดเด่นอัตลักษณ์พื้นถิ่น ผ้าบาติก ทุกรูปแบบสู่ตลาดสากล


ข่าวแนะนำ