ทะเลไทยส่อเป็น “พื้นที่มรณะ” จาก “แพลงก์ตอนบลูม” ดร.เจษฎาตอบแล้ว!
ดร.เจษฎา ไขปริศนา “แพลงก์ตอนบลูม” ทะเลเปลี่ยนสี ก่อให้เกิด “พื้นที่มรณะ” ปลา-สัตว์ทะเลย้ายถิ่นฐานหรือไม่?
วันนี้ (9 ส.ค. 66 )รองศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่าพื้นที่มรณะในท้องทะเลคือปรากฏการณ์ที่สัตว์ทะเล เช่น ปลา ปะการังตาย หรืออาจเป็นกรณีที่สัตว์ทะเลบางชนิดอาจมีการย้ายถิ่นฐานเพื่อหนีน้ำทะเลที่เป็นพิษ หรือที่มีค่าออกซิเจนต่ำจากปรากฏการณ์แพลงก์คตอนบลูม
ตามหลักการณ์แล้วปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีฝนตกลงมาเยอะ โดยที่ฝนจะพาสารอินทรีย์ตามหน้าดินไหลลงสู่ทะเล หลังจากนั้นเมื่อฝนหยุด ทิ้งช่วง มีแดดออก ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่แพลงก์ตอนเติบโตได้ดี เมื่อเติบโตแล้วเราจะเห็นว่าน้ำทะเลกลายเป็นสีเขียว บางจุดมีกลิ่นเหม็น อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่าทุกสายพันธ์จะเป็นพิษ มีอันตรายต่อมนุษย์ ส่วนในเรื่องของพื้นที่มรณะอาจารย์มองว่าอาจไม่ได้เป็นถึงขนาดนั้น
ดร.เจษฎตอบคำถามในกรณีที่ว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจะส่งผลให้เป็นพื้นที่มรณะหรือไม่ โดยระบุ ว่ายังไม่ถึงขนาดนั้น ไม่ถึงขั้นที่ปลาจะย้ายถิ่นฐาน พอสภาวะหายไปทะเลก็จะกลับมาเป็นเหมือนเดิม แต่ถ้าหากน้ำทะเลเปลี่ยนสี จากแพลงก์ตอนบลูม ต้องถามว่ามันคือสายพันธุ์ไหน มีพิษหรือไม่ หากสร้างสารพิษอาจส่งผลต่อการท่องเที่ยว ยังประมาทไม่ได้
ทั้งนี้สรุปได้ว่าแพลงก์ตอนบลูมในตอนนี้อาจยังไม่ก่อให้เกิดพื้นที่มรณะ อย่างไรก็ตามเราเองไม่สามารถประมาทได้ เพราะหากมองลึกลงไป ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ส่งผลต่อหลายมิติ ทั้งด้านสุขภาพ อุตสหกรรมการท่องเที่ยว อุตสหกรรมอาหารทะเล และวิถีชีวิตของชาวบ้าน
ภาพจาก : กรมทรัพยากรทางธรณี