TNN WHO ประกาศ "แอสปาร์แตม" อาจก่อมะเร็งแต่ยังปลอดภัย บริโภคในปริมาณที่จำกัด

TNN

สังคม

WHO ประกาศ "แอสปาร์แตม" อาจก่อมะเร็งแต่ยังปลอดภัย บริโภคในปริมาณที่จำกัด

WHO ประกาศ แอสปาร์แตม อาจก่อมะเร็งแต่ยังปลอดภัย บริโภคในปริมาณที่จำกัด

WHO ประกาศ "แอสปาร์แตม" มีความเป็นไปได้เป็นสารก่อมะเร็ง แต่ยังปลอดภัยที่จะบริโภคต่อไป นักวิทยาศาสตร์แนะ "สตีเวีย" อาจเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า

WHO ประกาศ "แอสปาร์แตม" มีความเป็นไปได้เป็นสารก่อมะเร็ง แต่ยังปลอดภัยที่จะบริโภคต่อไป นักวิทยาศาสตร์แนะ "สตีเวีย" อาจเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า


องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ระบุว่า แอสปาร์แตม สารให้ความหวานแทนน้ำตาล มี "ความเป็นไปได้ที่จะเป็นสารก่อมะเร็ง" แต่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงปริมาณจำกัดของแอสปาร์แตมที่สามารถบริโภคได้ และยังคงปลอดภัยที่จะบริโภคต่อไปในปริมาณที่จำกัดตามที่กำหนดไว้เดิมมานานกว่า 40 ปี

แอสปาร์แตม เป็นหนึ่งในสารให้ความหวานที่นิยมใช้กันมากที่สุดในโลก ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารอย่างเช่น น้ำอัดลม Coca-Cola diet ไปจนถึงหมากฝรั่งของ Mars

ผลสรุปดังกล่าวเป็นผลมาจากการพิจารณาของคณะผู้เชี่ยวชาญ 2 คณะของ WHO โดยคณะแรกตรวจสอบว่ามีหลักฐานใดที่ยืนยันว่า สารใดสารหนึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นอันตรายหรือไม่ ส่วนอีกคณะประเมินว่า สารดังกล่าวมีความเสี่ยงจริงในการใช้ในชีวิตจริงมากน้อยเพียงใด

โดยสำนักวิจัยมะเร็งระหว่างประเทศ หรือ IARC ของ WHO ประกาศผลสรุปเกี่ยวกับแอสปาร์แตมในวันนี้ (14 ก.ค.) ตามเวลาเจนีวา ว่า แอสปาร์แตม "มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นสารก่อมะเร็ง" นับเป็นการประกาศครั้งแรกของคณะผู้เชี่ยวชาญของ WHO คณะนี้เกี่ยวกับแอสปาร์แตม

การจัดชั้นให้สารใดให้อยู่ในชั้นความเป็นไปได้ว่าอาจเป็นสารก่อมะเร็ง หมายความว่า พบหลักฐานจำกัดว่าสารดังกล่าวอาจทำให้เป็นมะเร็งได้ แต่ IARC ไม่ได้พิจารณาเลยไปถึงว่า สามารถบริโภคสารดังกล่าวได้มากน้อยเท่าใดต่อคน

การพิจารณาเรื่องปริมาณการบริโภคต่อคน เป็นหน้าที่ของคณะผู้เชี่ยวชาญอีกคณะหนึ่งของ WHO คือ คณะกรรมการร่วมว่าด้วยสารเติมแต่งในอาหารขององค์การอาหารและเกษตร หรือ FAO ซึ่งอยู่ในสังกัดของ WHO ด้วย ชื่อย่อของคณะกรรมการร่วมนี้คือ JECFA

JECFA ประกาศผลการทบทวนตรวจสอบแอสปาร์แตมในวันนี้ตามเวลาเจนีวาเช่นกันว่า ไม่มีหลักฐานยืนยันอันตรายที่เกิดจากแอสปาร์แตม และยังคงแนะนำว่าสามารถบริโภคต่อไป ในปริมาณที่จำกัดตามที่กำหนดไว้เดิม คือต่ำกว่า 40 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน JECFA เองเป็นผู้กำหนดปริมาณจำกัดในการบริโภคแอสปาร์แตมในระดับนี้มาตั้งแต่ปี 1981 แล้ว หรือเมื่อ 42 ปีก่อน แล้วผู้คุมกฎในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ต่างก็ให้คำแนะนำเช่นเดียวกันนี้แก่ประชากรของตน

ตามข้อมูลของ WHO คนที่มีน้ำหนักระหว่าง 60-70 กิโลกรัม จะต้องดื่มน้ำอัดลม 9-14 กระป๋องต่อวัน ซึ่งมากกว่าปริมาณน้ำอัดลมที่คนส่วนใหญ่บริโภคประมาณ 10 เท่า จึงจะเกินปริมาณจำกัดในการบริโภคแอสปาร์แตมในระดับที่กำหนดไว้ในปัจจุบัน เมื่อพิจารณาจากปริมาณแอสปาร์แตมโดยเฉลี่ยในน้ำอัดลม

ส่วนความเห็นของนักวิทยาศาสตร์หลายคนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ WHO หรือการทบทวนตรวจสอบแอสปาร์แตม ชี้ว่า หลักฐานที่เชื่อมโยงแอสปาร์แตมกับมะเร็งนั้น ยังอ่อน ส่วนนักวิทยาศาสตร์อื่น ๆ เห็นว่า "สตีเวีย" หรือหญ้าหวาน อาจเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าแอสปาร์แตม

ส่วนปฏิกิริยาจากสมาคมด้านอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ ชี้ว่า คำวินิจฉัยของคณะผู้เชี่ยวชาญ WHO ล่าสุดยืนยันว่า แอสปาร์แตมปลอดภัยและเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่ต้องการลดน้ำตาลในอาหาร




แฟ้มภาพ รอยเตอร์


ข่าวแนะนำ