แนะนำวิธีใช้ "ไฟฟ้า" อย่างถูกต้องและปลอดภัยช่วงฤดูฝน-พายุฤดูร้อนถล่ม!

แนะนำวิธีใช้ "ไฟฟ้า" อย่างถูกต้องและปลอดภัยช่วงฤดูฝน-พายุฤดูร้อนถล่ม!

สรุปข่าว

รวมเทคนิค วิธีการใช้ "ไฟฟ้า" อย่างถูกต้องและปลอดภัยในช่วงฤดูฝน ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน


หลังจาก กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ.2566 (ออกประกาศวันที่28 เมษายน พ.ศ.2566) โดยระบุว่า ฤดูฝนของประเทศไทยปีนี้ คาดว่า จะเริ่มประมาณปลายสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤษภาคม 2566 ซึ่งช้ากว่าปกติเล็กน้อย และจะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนตุลาคม 2566 โดยปริมาณฝนรวมของทั้งประเทศ ในช่วงฤดูฝนปีนี้จะน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 5 และจะน้อยกว่าปีที่แล้ว (ปีที่แล้วในช่วงฤดูฝนปริมาณฝนรวมมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติร้อยละ 14 และปริมาณฝนรวมทั้งปีมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติร้อยละ 24) โดยทั้งในช่วงครึ่งแรกของฤดูฝน (ตั้งแต่วันเริ่มต้นถึงเดือนกรกฎาคม) และช่วงครึ่งหลังฤดูฝน (เดือนสิงหาคมถึงกลางเดือนตุลาคม) ปริมาณฝนรวมส่วนใหญ่จะน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติประมาณร้อยละ 5


อนึ่ง ช่วงประมาณกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม จะเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง ส่งผลให้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย ซึ่งจะท้าให้เกิดการขาดแคลนน้้าในด้านการเกษตรในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้้าซากนอกเขตชลประทาน ประชาชนจึงควรใช้น้้าเพื่อประโยชน์สูงสุด


แนะนำวิธีใช้ ไฟฟ้า อย่างถูกต้องและปลอดภัยในช่วงฤดูฝน!ภาพจาก AFP

 



ส่วนในช่วงเดือนสิงหาคม กันยายนและตุลาคม เป็นช่วงที่มีฝนตกชุกหนาแน่นที่สุด และมีโอกาสสูง ที่จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านบริเวณประเทศไทย ซึ่งส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ และก่อให้เกิดสภาวะน้้าท่วมฉับพลัน น้้าป่าไหลหลาก รวมทั้งน้้าล้นตลิ่งได้ในหลายพื้นที่


อย่างไรก็ตามก่อนจะเข้า ฤดูฝน อย่างเต็มตัว ตอนนี้ประเทศไทยเองก็มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทำให้หลายพื้นที่มีไฟฟ้าดับ จากเหตุเสาไฟล้ม หรือ จากกระแสไฟช็อต ไฟรั่ว หรือ ลัดวงจร ทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน


ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) มีคำแนะนำวิธีการใช้ไฟฟ้าอย่างถูกต้องและปลอดภัยในช่วงฤดูฝน ดังนี้


- เมื่อเกิดฟ้าคะนอง ไม่ควรใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด และถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเปียกน้ำ เมื่อจะนำไปใช้งานควรเช็ดหรือผึ่งให้แห้งก่อน เพื่อป้องกันมิให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจรภายในเครื่องใช้ไฟฟ้า

- เมื่อร่างกายเปียกชื้น ห้ามแตะต้องส่วนที่มีกระแสไฟฟ้าเพราะอาจเกิดกระแสไฟฟ้ารั่ว เพราะความต้านทานของผิวหนังที่เปียกชื้นจะลดลงมาก ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายได้โดยสะดวก เกิดกระแสไฟฟ้าดูดอาจถึงแก่ชีวิตได้

- ควรติดตั้งสายดินป้องกันไฟฟ้ารั่ว และหากจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าในขณะที่ร่างกายเปียกชื้น เช่น การใช้เครื่องทำน้ำอุ่น นอกจากติดตั้งสายดินแล้ว ยังต้องติดตั้งเครื่องตัดไฟฟ้ารั่ว เพื่อเสริมการทำงานของสายดินให้ปลอดภัยยิ่งขึ้นด้วย

- ตรวจสอบต้นไม้ที่อยู่ใกล้แนวสายไฟฟ้า หากมีกิ่งไม้อยู่ใกล้เกินไปหรือคาดว่าเมื่อมีลมพัดแรง อาจทำให้กิ่งไม้เอนไปแตะสายไฟฟ้า หรือต้นไม้หักโค่นล้มทับสายไฟฟ้า ให้แจ้ง PEA ในพื้นที่ทราบเพื่อดำเนินการแก้ไข

- ให้ความร่วมมือในการตัดต้นไม้หรือตัดกิ่งไม้ที่กีดขวางแนวเสาไฟฟ้า สายไฟฟ้าและจุดปักเสาไฟฟ้า ไม่ควรตัดต้นไม้เอง เพราะอาจถูกกระแสไฟฟ้าดูดได้

- หากพบกิ่งไม้ที่หักโค่นทับหรือพาดสายไฟฟ้าแรงสูง อย่าเข้าใกล้เพราะอาจมีกระแสไฟฟ้ารั่ว ควรรีบแจ้ง PEA ในพื้นที่ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไข






ภาพจาก AFP/TNN Online

ที่มาข้อมูล : -

ที่มารูปภาพ :

แท็กบทความ

ฤดูฝน
ฤดูฝน2566
การใช้ไฟช่วงฤดูฝน
พยากรณ์อากาศสภาพอากาศฝนตก
ฤดูฝน 2566 เริ่มเมื่อไหร่
กรมอุตุนิยมวิทยากรมอุตุอากาศ