เมื่อสัมผัสใกล้ชิดสารกัมมันตรังสี "ซีเซียม-137" จะเกิด "อาการ" อย่างไร
กระทรวงสาธารณสุขเปิด "อาการ" เมื่อสัมผัสใกล้ชิดสารกัมมันตรังสี "ซีเซียม-137" เบื้องต้นยังไม่พบผู้ป่วยต้องสงสัยในพื้นที่
กระทรวงสาธารณสุขเปิด "อาการ" เมื่อสัมผัสใกล้ชิดสารกัมมันตรังสี "ซีเซียม-137" เบื้องต้นยังไม่พบผู้ป่วยต้องสงสัยในพื้นที่
นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุขได้จัดตั้ง
ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ส่วนหน้าที่จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อเฝ้าระวังสุขภาพของประชาชนที่อาจจะได้รับผลกระทบจากสารกัมมันตรังสีซีเซียม-137 แต่การตรวจสอบเบื้องต้นสถานการณ์ยังไม่น่ากังวลและยังไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการเข้าข่ายสงสัยจากการสัมผัสสารกัมมันตรังสีซีเซียม-137
สำหรับการเฝ้าระวังกลุ่มบุคคลได้มีการจำกัดวงในการเฝ้าระวัง เช่น บริเวณโดยรอบโรงงาน ชุมชนต่างๆ รวมถึงในพื้นที่อำเภอ และจังหวัดปราจีนบุรี แบ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง เสี่ยงกลาง เสี่ยงต่ำ โดยได้สั่งการใหสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรีตรวจสุขภาพทั่วไปของประชาชนในพื้นที่
โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีอาการต้องสงสัยและมีความเสี่ยงก็จะทำการตรวจปัสสาวะ และส่งตัวอย่างให้สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติเพื่อตรวจหาสารตกค้าง
หากสัมผัสใกล้ชิด สารกัมมันตรังสีซีเซียม-137 จะทำให้เกิดอาการอย่างไร
สำหรับ สารกัมมันตรังสีซีเซียม-137 เป็นสารอันตราย ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ต้องใช้เครื่องมือในการตรวจจับและสามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้ประมาณ 30 ปี
หากสัมผัสใกล้ชิด จะทำให้เกิดอาการ
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- ปวดหัว
- ปวดท้อง
- ท้องเสีย
นอกจากนั้นจะส่งผลทำให้เซลล์ในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ทางผิวหนัง อาจมีตุ่มพอง เนื้อตายได้
ทั้งนี้ อาการก็ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารและระยะเวลาในการสัมผัส
ภาพจาก ผู้สื่อข่าวจังหวัดปราจีนบุรี