TNN "น้ำท่วม" ต้องอ่าน กรมอนามัย แนะใช้สิ่งนี้? ช่วยบำบัดน้ำเสีย

TNN

สังคม

"น้ำท่วม" ต้องอ่าน กรมอนามัย แนะใช้สิ่งนี้? ช่วยบำบัดน้ำเสีย

น้ำท่วม ต้องอ่าน กรมอนามัย แนะใช้สิ่งนี้? ช่วยบำบัดน้ำเสีย

กรมอนามัย ห่วงน้ำเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็นหลังน้ำท่วมลดลง แนะใช้ EM หรือจุลินทรีย์ประสิทธิภาพ เพื่อบำบัดน้ำไม่ให้เน่าเหม็น และลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง

กรมอนามัย ห่วงน้ำเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็นหลังน้ำท่วมลดลง แนะใช้ EM หรือจุลินทรีย์ประสิทธิภาพ เพื่อบำบัดน้ำไม่ให้เน่าเหม็น และลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง


นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ขณะนี้ในหลายพื้นที่ของประเทศไทยยังประสบปัญหาน้ำท่วมขังบริเวณอาคาร บ้านเรือน และตลาด ทำให้เกิดน้ำเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็น และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรค และยุง ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาวะเจ็บป่วยกับประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว แนะนำให้นำ EM (Effective Microorganisms) หรือจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ มาใช้ป้องกันและบรรเทาสถานการณ์ปัญหาน้ำเน่าในพื้นที่เบื้องต้นก่อน 


โดยอาจเลือกใช้ได้ทั้ง EM ball และ EM น้ำ ขึ้นอยู่กับ ความเหมาะสม เพื่อไม่ให้น้ำที่ท่วมขังเกิดการเน่าเสีย และสามารถลดกลิ่นเหม็น รวมทั้งลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงได้ โดย EM เหมาะสำหรับใช้กับน้ำนิ่ง น้ำขัง ห้ามใช้กับน้ำไหล เพราะจะไม่ได้ผลตามต้องการ 


สำหรับ EM ball กรณีน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง ให้ใช้เพียง 1 ก้อนต่อพื้นที่ 5 – 10 ตารางเมตร ที่ความลึกของน้ำไม่เกิน 2 เมตร โดยใส่ 2 – 3 ครั้ง ต่อเดือน แล้วปล่อยทิ้งให้จุลินทรีย์ทำปฏิกิริยาต่อไป และกรณีน้ำท่วมภายในอาคาร บ้านเรือน ที่พบน้ำเริ่มมีกลิ่นเหม็น และเน่าเสีย ให้ใช้ EM ball 1 ก้อนต่อพื้นที่ 2 – 5 ตารางเมตร โดยใส่ 1 ครั้งต่อเดือน เพื่อเป็นการเร่งปฏิกิริยาของจุลินทรีย์ให้ดียิ่งขึ้น


สำหรับ EM น้ำ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน โดยกรณีน้ำท่วมขังบริเวณกว้าง พื้นที่ขนาดใหญ่ ให้เลือกวิธีการพ่นกระจายตัวจุลินทรีย์ให้ทั่วบริเวณที่ประสบปัญหา 20 – 80 ลิตรต่อพื้นที่น้ำท่วม 1 ไร่ ด้วยความลึกของน้ำท่วมไม่เกิน 1.5 เมตร 


กรณีน้ำท่วมถนน ตรอกซอย เป็นเวลานาน ให้พิจารณาจากลักษณะน้ำท่วมขังก่อน หากน้ำท่วมขังมีกลิ่นเหม็น น้ำเริ่มเน่าเสีย ให้เลือก EM สูตร 1 : 1,000 และกรณีน้ำยังไม่เน่าเสีย ไม่ส่งกลิ่นเหม็น ให้เลือก EM สูตรที่เจือจางกว่า เช่น 1 : 3,000 ทั้งนี้ ก่อนฉีดพ่น EM ต้องคำนวณขนาดพื้นที่น้ำท่วมขังก่อน เพื่อกำหนดปริมาณที่แน่นอน และเหมาะสมกับพื้นที่




ที่มา กรมอนามัย

ภาพจาก TNN Online

ข่าวแนะนำ