เมื่อลูกจ้างประกันสังคมเจ็บป่วยจากงาน กองทุนเงินทดแทนคุ้มครองอย่างไร?
เมื่อลูกจ้างประกันสังคมประสบอุบัติเหตุ เจ็บป่วยจากงาน มาทำงานไม่ได้ กองทุนเงินทดแทนให้ความคุ้มครองอย่างไร
การเจ็บป่วย หรือประสบอุบัติเหตุจากการทำงานอาจส่งผลให้พนักงาน ลูกจ้างต้องหยุดพักรักษาตัวเป็นระยะเวลานาน บางรายอาจถึงขั้นพิการสูญเสียอวัยวะ จนเกิดความกังวลใจว่าจะถูกเลิกจ้าง หรือไม่สามารถทำงานได้นานๆ อาจไม่ได้รับเงินเดือนขาดรายได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อตนเอง และครอบครัว
กรณีนี้ สำนักงานประกันสังคม เน้นย้ำให้ลูกจ้างสบายใจ เนื่องจากภายใต้สิทธิกองทุนเงินทดแทนจะให้ความอุ่นใจแก่ลูกจ้าง โดยลูกจ้างจะได้รับสิทธิค่าทดแทน กรณีไม่สามารถทำงานได้ติดต่อกันเกิน 3 วัน ขึ้นไปหลักเกณฑ์และเงื่อนไขไม่ซับซ้อน ประกอบด้วย
- กรณีแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวจะได้รับค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนการขาดรายได้ต่อเดือนในอัตราร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือน หากต้องหยุดพักรักษาตัวติดต่อกันเกิน 3 วันขึ้นไป แต่ไม่เกิน 1 ปี
โดยค่าทดแทนมี 4 กรณี ได้แก่
1. กรณีหยุดพักรักษาตัว (ต้องมีใบรับรองแพทย์) จะได้รับตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนดและหยุดงานตามจริง ไม่เกิน 1 ปี
2. กรณีสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานอย่างถาวรของอวัยวะที่บาดเจ็บ ตามที่ประกาศกระทรวงแรงงานกำหนดแต่ไม่เกิน 10 ปี
3. กรณีที่ทุพพลภาพ จะได้รับค่าทดแทนตลอดชีพ
4. กรณีตาย หรือสูญหาย ผู้มีสิทธิจะได้รับค่าทดแทน 10 ปีและค่าทำศพ
และทั้งหมดนี้คือสิทธิประโยชน์ ที่ลูกจ้างจะได้รับเมื่อประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน
หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถาม หรือติดตามข่าวสารสำนักงานประกันสังคมผ่านทางช่องทางต่าง ๆ ได้ที่
Website: www.sso.go.th
Facebook: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
Instagram: sso_1506 Twitter: @sso_1506
YouTube: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
Hotline: 1506 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
LINE: @SSOTHAI
TikTok: @SSONEWS1506
ข้อมูลจาก สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
ภาพจาก สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน / TNN ONLINE