เปิดสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ กองทุนประกันสังคม-กองทุนเงินทดแทน
สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ จากกองทุนของประกันสังคม-กองทุนเงินทดแทน
สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดข้อมูลเกี่ยวกับ สิทธิประโยชน์จากประกันสังคม โดยระบุว่า รู้สิทธิไว ได้ประโยชน์เร็ว กับ 2 กองทุนของประกันสังคม
กองทุนประกันสังคม
1. กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย (ไม่เนื่องจากการทำงาน)
ผู้ประกันตนต้องนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์
- ได้รับการรักษาพยาบาล โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเมื่อเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ร้อยละ 50 ของค่าจ้างจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยได้รับครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรัง ไม่เกิน 365 วัน
กรณีทันตกรรม
ได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 900 บาทต่อปี (กรณีถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูนและผ่าตัดฟันคุด)
2. กรณีคลอดบุตร
ผู้ประกันตนต้องนําส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันคลอดบุตร
ผู้ประกันตนหญิง
- ได้รับค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายจํานวน 15,000 บาท โดยไม่จํากัดจํานวนครั้ง
- เงินสงเคราะหการหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจาง เฉลี่ย 90 วัน ไม่เกิน 2 ครั้ง
ผู้ประกันตนชาย
- ได้รับเฉพาะค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย จํานวน 15,000 บาท โดยไม่จํากัดจํานวนครั้ง
ค่าฝากครรภ์ จํานวน 1,500 บาท โดยไม่จํากัดจํานวนครั้ง
3. กรณีทุพพลภาพ
ผู้ประกันตนต้องนําส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนทุพพลภาพอันมิใช่เนื่องจากการทํางาน
กรณีทุพพลภาพระดับความสูญเสียไม่รุนแรง (ประเมินการสูญเสีย ตั้งแต่ร้อยละ 35 ขึ้นไป แต่ไม่ถึงร้อยละ 50)
ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างรายวันตลอดระยะที่ไม่สามารถทํางานได้ ไม่เกิน 180 เดือน
กรณีทุพพลภาพระดับความสูญเสียรุนแรง (ประเมินการสูญเสีย ตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป)
ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน ตลอดชีวิต
- รักษาพยาบาลในโรงพยาบาลของรัฐ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
- รักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด
4. กรณีตาย
ผู้ประกันตนต้องนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือนก่อนถึงแก่ความตาย
ได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท และเงินสงเคราะห์กรณีตาย ดังนี้
จ่ายเงินสมทบ ตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน รับเงินสงเคราะห์ ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าเฉลี่ย 4 เดือน
จ่ายเงินสมทบ ตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไปรับเงินสงเคราะห์ ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าเฉลี่ย 12 เดือน
5. กรณีสงเคราะห์บุตร
ผู้ประกันตนต้องนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือนก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน
ได้รับเงินสงเคราะห์บุตร เหมาจ่ายเดือนละ 800 บาท ต่อบุตร 1 คน
6. กรณีชราภาพ
เงินบํานาญชราภาพ (จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน)
ได้รับเงินบํานาญชราภาพ ร้อยละ 20 ของค่าเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ที่ใช้เป็นฐานในการคํานวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
ถ้าจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตรา เงินบํานาญชราภาพ ขึ้นอีก ร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน
เงินบําเหน็จชราภาพ (จ่ายเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน)
- จ่ายเงินสมทบตํ่ากว่า 12 เดือน ได้รับเงินบําเหน็จชราภาพเท่ากับจํานวนเงินสมทบเฉพาะส่วนของผู้ประกันตน
- จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป ได้รับเงินบําเหน็จชราภาพเท่ากับจํานวนเงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายสมทบ พร้อมผลประโยชน์ตอบแทน
7. กรณีว่างงาน
ผู้ประกันตนต้องนําส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน
ถูกเลิกจ้าง
ได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงานในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน
ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง
ได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงานในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน
ผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียนและรายงานตัวกรณีว่างงาน ผ่านระบบ https://e-service.doe.go.th ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ถูกเลิกจ้าง หรือลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง และรายงานตัวตามกําหนดนัดเพื่อมิให้เสียสิทธิในการรับเงินทดแทน
กองทุนเงินทดแทน
- กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย
- กรณีทุพพลภาพ
- กรณีสูญเสียสมรรถภาพ
- กรณีตายหรือสูญหาย
จะได้รับอะไรบ้าง
- ค่ารักษาพยาบาล จนสิ้นสุดการรักษา (ในสถานพยาบาลของรัฐ)
- ค่าทำศพ ได้รับค่าทำศพจำนวน 50,000 บาท
- ค่าทดแทนรายเดือน เมื่อลูกจ้างมีการหยุดงาน
- สูญเสียสมรรถภาพ ทุพพลภาพ ตายหรือสูญหาย
- จะได้ค่าทดแทน ร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
ข้อมูลจาก สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
ภาพจาก สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน / TNN ONLINE