ส่งยานสำรวจดาวเคราะห์น้อยเสี่ยงชนโลก
เมื่อปี 2565 นาซาส่งยานอวกาศไปพุ่งชนเพื่อเบี่ยงวิถีการดคจรของดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่ง ล่าสุด มีการส่งยานสำรวจ "เฮรา" ออกเดินทางจากโลก เพื่อไปเก็บข้อมูล ดาวเคราะห์น้อยดวงดังกล่าว เพื่อเตรียมการรับมืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ยานอวกาศ “เฮรา” ออกเดินทางสู่ห้วงอวกาศแล้ว จากฐานปล่อยในแหลมคะแนเวอรัล ของรัฐฟลอริดา เมื่อเวลา 10.52 น. วันจันทร์ที่ 7 ต.ค. 2567 ตามเวลาท้องถิ่นของสหรัฐฯ เพื่อมุ่งหน้าไปยังดาวเคราะห์น้อยที่ นาซา สิ่งยานไปพุ่งชนเพื่อเบี่ยงวงโคจรเมื่อปี 2565
“ภารกิจเฮรา” (Hera mission) ดำเนินการโดยสำนักงานอวกาศยุโรป เป็นส่วนหนึ่งในภารกิจระหว่างประเทศ ต่อจากโครงการ “การทดสอบเปลี่ยนวงโคจรระบบดาวเคราะห์น้อยคู่” หรือ “ดาร์ท” (DART) ของนาซา เพื่อพิสูจน์ว่า มนุษย์สามารถหยุดดาวเคราะห์น้อยอันตรายจากการพุ่งชนโลกได้หรือไม่
ย้านกลับไปเมื่อปี 2561 นาซาส่งยานอวกาศไปยังระบบดาวเคราะห์น้อยคู่ โดยมีเป้าหมายเพื่อพุ่งชนดาวเคราะห์น้อย “ไดมอร์ฟอส” (Dimorphos) ซึ่งเป็นเหมือนดวงจันทร์ที่โคจรรอบดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดใหญ่กว่าคือดาว “ดีดีมอส” (Didymos) // ยานของนาซาพุ่งชนดาวเคราะห์น้อยไดมอร์ฟอสในปี 2565 ซึ่งพวกเขาประกาศความสำเร็จในการเปลี่ยนวิธีโคจรของดาวดวงนี้ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์คาดว่า การพุ่งชนทำให้วิถีของไดมอร์ฟอสเปลี่ยนไป 2-3 เมตร
ทั้งนี้ ระบบดาวเคราะห์น้อยคู่ดังกล่าว ไม่ได้มีความเสี่ยงจะพุ่งชนโลก แต่นาซาต้องการทดสอบว่า พวกเขาจะสามารถทำอะไรได้บ้าง หากต้องเผชิญกับความเสี่ยงจริงๆ
สำหรับยานเฮรา หากทุกอย่างเป็นไปตามแผน มันจะเดินทางถึงดาวเคราะห์น้อยไดมอร์ฟอส ซึ่งอยู่ห่างจากโลกประมาณ11.2 ล้านกิโลเมตร ในเดือนธันวาคม 2569 ซึ่งเมื่อไปถึง ยานเฮราจะสำรวจขนาดและความลึกของหลุมที่ยานของนาซาเข้าปะทะบนไดมอร์ฟอส และศึกษาองค์ประกอบรวมถึงมวลของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ด้วย
การศึกษาองค์ประกอบของดาวเคราะห์น้อยจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ หาวิธีที่ดีที่สุดในการสกัดกั้นดาวเคราะห์น้อยดวงอื่นๆ ซึ่งมีขนาดและรูปทรงแตกต่างกันไป ที่อาจเดินทางมายังโลกในอนาคต
อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ตอนนี้โลกยังไม่มีความเสี่ยงเผชิญดาวเคราะห์น้อยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 กม. พุ่งชนเหมือนตอนที่ไดโนเสาร์ถูกล้างเผ่าพันธุ์ เพราะดาวเคราะห์น้อยใหญ่ขนาดนั้นสามารถตรวจพบได้อย่างง่ายดายด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน
ที่มา TNN
ภาพ SpaceX
ข่าวแนะนำ