TNN นักวิทย์ คาดใต้พื้นผิวดาวพุธ อาจมี "ชั้นเพชร" หนากว่า 15-18 กิโลเมตรซ่อนอยู่

TNN

วิทยาศาสตร์

นักวิทย์ คาดใต้พื้นผิวดาวพุธ อาจมี "ชั้นเพชร" หนากว่า 15-18 กิโลเมตรซ่อนอยู่

นักวิทย์ คาดใต้พื้นผิวดาวพุธ อาจมี ชั้นเพชร หนากว่า 15-18 กิโลเมตรซ่อนอยู่

นักวิทยาศาสตร์ เผยผลวิจัยสำรวจ "ดาวพุธ" คาดใต้พื้นผิวเชื่อกันว่าเป็นแกรไฟต์ ลึกลงไปอาจมี ‘ชั้นเพชร’ ที่หนากว่า 15-18 กิโลเมตรซ่อนอยู่

ความคืบหน้าการสำรวจ  “ดาวพุธ” (Mercury)  ดาวเคราะห์ลำดับแรกในระบบสุริยะ มีขนาดเล็กที่สุด แต่กลับมีแกนโลหะขนาดใหญ่ครอบคลุมรัศมีของดาวพุธถึงร้อยละ 85  ซึ่งปัจจุบัน มีการสำรวจน้อยที่สุด  โดยภารกิจสำรวจดาวพุธครั้งสุดท้ายคือยาน MESSENGER ขององค์การนาซา  ซึ่งโคจรรอบดาวพุธช่วงเดือน เม.ย. 2015 ภารกิจดังกล่าวรวบรวมข้อมูลเชิงธรณีวิทยา เคมี และสนามแม่เหล็กของดาวพุธ ก่อนที่ยานอวกาศจะเชื้อเพลิงหมดและพุ่งชนพื้นผิวดาวพุธ


การค้นพบของยาน MESSENGER คือ  ดาวพุธอุดมไปด้วยคาร์บอนและพื้นผิวเป็นสีเทาเนื่องจากมีแกรไฟต์ ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของคาร์บอน และพบว่า เพชร ก็มีองค์ประกอบด้วยคาร์บอนบริสุทธิ์ ซึ่งก่อตัวขึ้นภายใต้สภาวะความดันและอุณหภูมิที่เฉพาะเจาะจง


ผลการวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications นักวิทยาศาสตร์พบว่า ที่ใต้พื้นผิวของดาวพุธ ซึ่งเชื่อว่าเป็นแกรไฟต์ ลึกลงไปนั้นอาจมี ‘ชั้นเพชร’ ซ่อนอยู่ และความหนาของชั้นเพชรคาดว่าอยู่ระหว่าง 15-18 กิโลเมตร แต่เป็นเพียงการประมาณการเท่านั้น และอาจเปลี่ยนแปลงได้


ทีมวิจัยได้ทดลอง ใส่ส่วนผสมสังเคราะห์ของธาตุต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงซิลิกอน ไททาเนียม แมกนีเซียม และอะลูมิเนียม เข้าไปในแคปซูลแกรไฟต์ เพื่อเลียนแบบองค์ประกอบตามทฤษฎีภายในดาวพุธ นำแคปซูลไปทดสอบภายใต้ความกดดันที่สูงกว่าความดันที่พบบนพื้นผิวโลกเกือบ 70,000 เท่า และอุณหภูมิสูงถึง 2,000 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นการจำลองสภาพที่น่าจะพบใกล้แกนดาวพุธเมื่อหลายพันล้านปีก่อน


หลังจากตัวอย่างละลาย นักวิทยาศาสตร์ได้ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและแร่ธาตุภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน และสังเกตเห็นว่า ‘แกรไฟต์ได้เปลี่ยนเป็นผลึกเพชร’ แต่ไม่สามารถถูกขุดขึ้นมาได้ แม้จะมีเทคโนโลยีขั้นสูงในอนาคต  เนื่องจากเพชรเหล่านี้อยู่ที่ความลึกประมาณ 500 กิโลเมตร


ดังนั้นต้องฝากความหวังไว้กับภารกิจ ‘เบปีโคลอมโบ’ (BepiColombo) ซึ่งประกอบด้วยยานอวกาศ 2 ลำที่ปล่อยขึ้นสู่อวกาศในเดือน ต.ค. 2018 และคาดว่าจะเข้าสู่วงโคจรของดาวพุธในเดือน ธ.ค. 2025


นาซาเปิดเผย ว่านักบินอวกาศที่ถูกส่งมายังสถานีอวกาศนานาชาติ ด้วยยานสตาร์ไลเนอร์ของบริษัทโบอิ้ง เตรียมจะกลับมายังโลกด้วยยานครูว์ดรากอนของสเปซเอ็กซ์ ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า (2568) หากยานสตาร์ไลเนอร์ ยังไม่ได้รับการยืนยันถึงความปลอดภัยที่จะกลับสู่โลก


ยานอวกาศสตาร์ไลเนอร์ซึ่งถูกส่งขึ้นไปในเดือนมิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา พร้อมนักบินอวกาศสองคนไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ ถือเป็นภารกิจทดสอบที่มีความเสี่ยงสูง  ซึ่งเดิมคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 8 วัน แต่ถูกยืดออกไป เนื่องจากปัญหา ระบบขับเคลื่อนของยาน ทำให้เกิดคำถามถึงความสามารถของยานสตาร์ไลเนอร์ในการส่งลูกเรือของนาซา ซึ่งได้แก่ บัช วิลมอร์ และซูนี วิลเลียมส์ นักบินอวกาศอาวุโสของนาซา ว่าจะดำเนินการอย่างไรให้ ทั้งคู่กลับมายังโลกอย่างปลอดภัย 


นาซากำลังตรวจสอบว่าแคปซูลครูว์ดรากอนจะต้องนำพวกเขากลับบ้านแทนหรือไม่ หากผลลัพธ์เป็นเช่นนั้น จะเป็นอุปสรรคต่อโบอิ้ง ซึ่งหวังที่จะแข่งขันกับสเปซเอ็กซ์ในการขนส่งเสบียงและลูกเรือไปและกลับจากสถานีอวกาศ 


ข่าวแนะนำ