TNN อุตุฯ โลกเตือนภัยระดับสีแดง ปีนี้โลกร้อนอุณหภูมิพุ่งสูงทำสถิติใหม่

TNN

วิทยาศาสตร์

อุตุฯ โลกเตือนภัยระดับสีแดง ปีนี้โลกร้อนอุณหภูมิพุ่งสูงทำสถิติใหม่

อุตุฯ โลกเตือนภัยระดับสีแดง ปีนี้โลกร้อนอุณหภูมิพุ่งสูงทำสถิติใหม่

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก เตือนภัยระดับ ‘สีแดง’ ปีนี้ สภาพอากาศจะร้อนมากกว่าเดิม อุณหภูมิพุ่งสูงทำสถิติใหม่ น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก หรือ WMO แถลงเมื่อว่า บันทึกสภาพภูมิอากาศโลกที่สำคัญๆ ทุกรายการ ถูกทำลายลงในปีที่แล้ว และปี 2567 นี้ สภาพอากาศอาจเลวร้ายยิ่งกว่านั้น โดยผู้อำนวยการองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก แสดงความกังวลเป็นพิเศษเกี่ยวกับความร้อนในมหาสมุทรและน้ำแข็งในทะเลที่หดตัว


สำนักงานสภาพอากาศของสหประชาชาติแห่งนี้ ระบุในรายงานประจำปี สถานะสภาพภูมิอากาศโลกว่า อุณหภูมิเฉลี่ยพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 174 ปี ตั้งแต่มีการบันทึกสถิติ โดยสูงกว่าระดับก่อนยุคอุตสาหกรรมถึง 1.45 องศาเซลเซียส

 

WMO ระบุว่า อุณหภูมิในมหาสมุทร ยังอุ่นที่สุดในรอบ 65 ปี โดยกว่าร้อยละ 90 ของทะเล ต้องเผชิญกับสภาวะคลื่นความร้อนในช่วงปีดังกล่าว ซึ่งเป็นอันตรายต่อระบบอาหาร


เซเลสเต เซาโล เลขาธิการ WMO ซึ่งเข้ารับตำแหน่งในเดือนมกราคม ว่า เธอประกาศเตือนภัย ‘สีแดง’ เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศโลก เธอกล่าวกับนักข่าวในนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ว่า ความร้อนในมหาสมุทรเป็นเรื่องที่น่ากังวลเป็นพิเศษ เนื่องจากความร้อนนั้น ‘แทบจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้กลับมาเหมือนเดิมได้’ และอาจต้องใช้เวลานับพันปีจึงจะกลับคืนสู่สภาพเดิม


การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งถูกขับเคลื่อนโดยการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล ควบคู่ไปกับการปรากฏตัวของปรากฏการณ์เอลนีโญ ได้ผลักดันให้โลกเผชิญกับอุณหภูมิสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2566


ด้านโอมาร์ บัดดัวร์ หัวหน้าตรวจสอบสภาพภูมิอากาศของ WMO กล่าวว่า ‘มีความเป็นไปได้สูง’ ที่ในปีนี้ อุณหภูมิจะพุ่งสูงทำสถิติใหม่ โดยบอกว่า ปีหลังการเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ โดยทั่วไปแล้ว อุณหภูมิจะร้อนขึ้น 


รายงานที่เผยแพร่เมื่อเมื่อวานนี้ เผยให้เห็นการละลายครั้งใหญ่ของน้ำแข็งในแอนตาร์กติก หรือขั้วโลกใต้ โดยระดับสูงสุดวัดได้ที่ 1 ล้านตารางกิโลเมตร ซึ่งต่ำกว่าสถิติก่อนหน้า เป็นพื้นที่ที่มีขนาดพอ ๆ กับอียิปต์ แนวโน้มดังกล่าวเมื่อรวมกับมหาสมุทรที่อุ่นขึ้น ซึ่งทำให้น้ำขยายตัว ส่งผลให้อัตราน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นกว่าสองเท่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับช่วงปี 2536-2545


รายงานระบุว่า ความร้อนในมหาสมุทรกระจุกตัวอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ย 3 องศาเซลเซียสในช่วงปลายปี 2566 อุณหภูมิของมหาสมุทรที่อุ่นขึ้น ส่งผลต่อระบบนิเวศทางทะเลที่ละเอียดอ่อน และปลาหลายสายพันธุ์ได้หนีจากบริเวณนี้ไปทางเหนือเพื่อแสวงหาอุณหภูมิที่เย็นกว่า


ภาพจาก: AFP 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง